Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3892
Title: | การนำวิธีพิจารณาทางปกครองมาใช้ในวิธีพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม |
Other Titles: | Application of administrative procedure to the appellate procedure of the Merrit [i.e. Merit] System Protection Commision [i.e. Commission] (MSPC) |
Authors: | สิริพันธ์ พลรบ บุญครอง ธรรมลี, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี อุทธรณ์ การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์ วิธีพิจารณาคดีปกครอง--ไทย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “การนำวิธีพิจารณาทางปกครองมาใช้ในวิธีพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม” นี้เป็นการศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาการนำวิธีพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ในวิธีพิจารณาอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. และเสนอแนะการนำหลักวิธีพิจารณาทางปกครองมาใช้ในวิธีพิจารณาอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร จากแนวคิด ทฤษฎี บทบัญญัติของกฎหมาย ความเห็นขององค์กรผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ และคำพิพากษาของศาล รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ จากตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ และสื่ออิเล็คทรอนิกส์ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า ก.พ.ค. มีสถานะเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ซึ่งโดยหลักจะไม่อยู่ในบังคับให้ต้องนำวิธีพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ในวิธีพิจารณาของตน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่กรณีในอุทธรณ์ รวมทั้งสอดคล้องกับกฎ ก.พ.ค. ข้อ 5 วรรคสอง ที่กำหนดให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ในวิธีพิจารณาอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือกฎ ก.พ.ค. ดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น จึงสามารถนำหลักการตามกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองมาใช้ในวิธีพิจารณาอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท ดังนี้ 1) หลักความเป็นกลาง 2) หลักการสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง 3) หลักการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตไปขณะใดขณะหนึ่ง 4) หลักการขอให้พิจารณาใหม่ และ 5) หลักการแจ้งคำสั่งทางปกครองหรือการนัดพิจารณา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3892 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License