Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3894
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ร้านสหกรณ์เทเวศร์ จำกัด
Other Titles: Factors affecting the buying behavior of consumers at Tewes Cooperative Store Limited
Authors: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
แสงจันทร์ ทับสีนวล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์เทเวศร์
การซื้อสินค้า--การตัดสินใจ
พฤติกรรมผู้บริโภค
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า 2) พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค 3) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค และ 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคร้านสหกรณ์เทเวศร์ จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการในร้านสหกรณ์เทเวศร์ จำกัด จำนวนเฉลี่ย 1,050 คนต่อเดือน ขนาดตัวอย่างที่จะเก็บข้อมูลจำนวน 300 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยสูตร Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคส่วนใหญ่พบว่า ไม่เป็นสมาชิกสหกรณ์ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30 – 40 ปี สถานภาพโสด มีรายได้ระหว่าง 10,000 – 20,000 บาท อาชีพข้าราชการ การศึกษาระดับปริญญาตรี 2) พฤติกรรมการซื้อสินค้า ของผู้บริโภค ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าประเภทของกิน เหตุผลในการซื้อเพราะสะดวกเดินทางไม่ไกล โดยเฉลี่ยต่อเดือนซื้อสินค้าน้อยกว่า 5 ครั้ง เวลาที่สะดวกในการซื้อคือวันจันทร์ ช่วงเวลาที่ซื้อคือ 11.01 – 13.00 น. ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อต่อครั้ง 101 – 300 บาท และตัดสินใจในการซื้อสินค้าด้วยตัวัเอง 3) ระดับความสำคัญของปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า โดยรวมมีความสำคัญ ในระดับมาก หากพิจารณาแยกปัจจัยพบว่า ปัจจัยด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีความสัคญในระดับ มาก ส่วนปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสำคัญ ในระดับ ปานกลาง 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัย ส่วนบุคคลของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการซื้อสินค้า พบว่า รายได้ อาชีพ ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการซื้อสินค้าทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อสินค้า พบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งในการซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์กับปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3894
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_146257.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons