Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3896
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย สุวรรณพานิชth_TH
dc.contributor.authorบุษกร โพธิสุทธิ์, 2524-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-09T04:23:27Z-
dc.date.available2023-03-09T04:23:27Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3896en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิด และหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดในต่างประเทศ และตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาแนวทางปรับปรุงแก้ไข กำหนดลักษณะที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารโดยทำการค้นคว้า รวบรวมจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วยบทความ วารสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ตำรากฎหมาย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นำมาเรียบเรียงโดยพรรณนาและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ให้ได้มาซึ่งข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า บทบัญญัติอันเกี่ยวกับเรื่องการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าบทบัญญัติอันเกี่ยวด้วยเรื่องดังกล่าว ยังไม่ครอบคลุมกรณีของบทนิยาม และมูลค่าราคาทรัพย์สินผู้ศึกษาจึงเห็นควรเสนอให้มีการเพิ่มเติมบทนิยามของคำว่า “ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา” และ “ญาติ” ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการทบทวนหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สิน ทุก 5 ปีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการขัดกันแห่งผลประโยชน์th_TH
dc.subjectการทุจริตและประพฤติมิชอบ--การป้องกันth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตth_TH
dc.title.alternativeConflicts between personal interest and public interest according to the law on the prevention and suppression of corruptionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeAn independent study of “The Conflicts between Personal Interest and Public Interest according to the Organic Act on Counter Corruption” aimed to study about concepts and principal of laws about the conflict of interest action, focusing onthe case of property or other benefits receiving of public officers in abroad and according to the Organic Act on Counter Corruption to analyze the problems and study about improvement guidelines. Also, determination the features of the conflicts between personal interest and public interest according to the Organic Act on Counter Corruption to enhance the effectiveness of law enforcement. This study was a qualitative study by collecting and gathering data from documents, local and international publication consisting of journals, researches, theses, legal texts and electronic media. After that, there were data composing and systematic analysis to sum up the final conclusion and recommendations. The study found that there was lacking of determination and property values in the chapter of conflicts between personal interest and public interest of the Organic Act on Counter Corruption, case of property or other benefits receiving of public officers in abroad comparing with England and the United States of America. Therefore, the researcher recommended that the definition of “Asset or other righteous benefits” and “Relatives” in the organic act should be added to cover all of the problem concerns and the asset value criterion should be reviewed every 5 years by the national anti-corruption commission.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons