Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3896
Title: การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
Other Titles: Conflicts between personal interest and public interest according to the law on the prevention and suppression of corruption
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช
บุษกร โพธิสุทธิ์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การขัดกันแห่งผลประโยชน์
การทุจริตและประพฤติมิชอบ--การป้องกัน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิด และหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดในต่างประเทศ และตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาแนวทางปรับปรุงแก้ไข กำหนดลักษณะที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารโดยทำการค้นคว้า รวบรวมจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วยบทความ วารสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ตำรากฎหมาย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นำมาเรียบเรียงโดยพรรณนาและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ให้ได้มาซึ่งข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า บทบัญญัติอันเกี่ยวกับเรื่องการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าบทบัญญัติอันเกี่ยวด้วยเรื่องดังกล่าว ยังไม่ครอบคลุมกรณีของบทนิยาม และมูลค่าราคาทรัพย์สินผู้ศึกษาจึงเห็นควรเสนอให้มีการเพิ่มเติมบทนิยามของคำว่า “ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา” และ “ญาติ” ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการทบทวนหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สิน ทุก 5 ปี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3896
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons