Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/390
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่องค์กรในการวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น
Other Titles: Legal problems concerning the authority in deciding the rights to be a candidate in a local election
Authors: กมลชัย รัตนสกาววงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ครรชิต เจริญอินทร์, 2514- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
การเลือกตั้งท้องถิ่น--ไทย
กฎหมายเลือกตั้ง--ไทย
การตรวจสอบการจัดการ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่องค์กรในการวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ท้องถิ่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฏีและหลักกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ การเลือกตั้งกับองค์กรที่เกี่ยวข้องในการวินิจฉัยคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นในต่างประเทศ ศึกษาวิเคราะห์อำนาจหน้าที่ดังกล่าวขององค์กรในประเทศไทย โดยเฉพาะกระบวนการในการถอนชื่อ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และ/หรือสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ทั้งก่อนและหลังจากคณะกรรมการ การเลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัย คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีวิจัยเอกสารจากการค้นคว้าและรวบรวมจากตัวบท กฎหมาย หนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล คำสั่งของฝ่ายปกครอง เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยจะแบ่งออกตามช่วงระยะเวลาการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามและการยื่นคำร้อง ตาม มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ก่อนวันเลือกตั้ง ตั้งแต่วันเลือกตั้งจนถึงประกาศผลการเลือกตั้ง จากการศึกษาพบว่า การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งในต่างประเทศนั้น จะมีองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน เช่น ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จะมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้ ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนประเทศฝรั่งเศส มีองค์กรตุลาการ คือศาลปกครองเป็นองค์กร ที่เข้ามาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้นหากประเทศไทยนำหลักการแนวคิด ในต่างประเทศ ดังกล่าวมาปรับใช้ประกอบกับหลักการของประเทศไทยเองที่กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่จัดและควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมแล้ว การตรวจสอบคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม ก่อนประกาศผลการเลือกตั้งก็ควรเป็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และเมื่อประกาศรับรองผลการเลือกตั้งแล้วก็ให้อำนาจองค์กรตุลาการเข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งและองค์กรที่เกี่ยวข้องตามหลักการตรวจสอบและวินิจฉัยเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามโดยตรง โดยไม่นำการตรวจสอบกรณีการเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรมมาใช้ ก็จะทำให้ประเทศไทยสามารถแกไขปัญหาที่เกิดจากการกระบวนการในการพิจารณาคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ เป็นไปโดยสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/390
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib153711.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons