Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3904
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภาณุมาศ ขัดเงางาม | th_TH |
dc.contributor.author | ปณิดา เสนนันตา, 2513- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-03-09T06:18:10Z | - |
dc.date.available | 2023-03-09T06:18:10Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3904 | en_US |
dc.description.abstract | การค้นคว้าอิสระเรื่อง การล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศ (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ จากองค์กรกลางบริหารงานบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กฎหมายข้าราชการพลเรือน และกฎหมายอาญา (3) ศึกษาปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา (4) เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาข้อกฎหมายการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษาให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม การค้นคว้าอิสระ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากคำพิพากษาของศาล คำวินิจฉัยขององค์กรกลางบริหารงานบุคคล และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า (1) มาตรา 94 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 กำหนดให้การล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษาเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยคำว่า “ล่วงละเมิดทางเพศ” มีความหมายที่กว้าง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าหากมีการกระทำชำเรา การอนาจาร การล่วงละเมิดทางเพศด้วยวาจา หรือพฤติกรรมอื่นที่ส่อไปในทางเพศต่อผู้เรียน หรือนักศึกษาถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทั้งสิ้น (2) องค์กรกลางบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับการศึกษาได้พิจารณาความผิดวินัยกรณีล่วงละเมิดทางเพศตามกฎหมายข้าราชการครูแตกต่างจากกฎหมายข้าราชการพลเรือน โดยกฎหมายข้าราชการพลเรือนมีแนวทางในการพิจารณาโทษที่ชัดเจนและมีระดับการลงโทษที่แตกต่างกัน สำหรับความผิดทางเพศตามกฎหมายอาญาของไทยได้แยกความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและความผิดฐานอนาจารไว้อย่างชัดเจน และมีบทลงโทษที่แตกต่างกันเช่นเดียวกับความผิดทางเพศตามกฎหมายต่างประเทศ (3) การที่กฎหมายข้าราชการครูกำหนดให้การล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษาเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรม การใช้ดุลพินิจที่หลากหลายไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันการใช้ดุลพินิจที่มิชอบไม่เป็นไปตามหลักกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (4) ควรกำหนดหลักเกณฑ์การกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดทางเพศที่มีลักษณะของความรุนแรงหรือร้ายแรงไว้ในกฎ ก.ค.ศ. ซึ่งออกตามมาตรา 94 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อในการแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ต่อผู้เรียนหรือนักศึกษาให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | สิทธิทางเพศ | th_TH |
dc.subject | ข้าราชการครู--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน | th_TH |
dc.title | การล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 | th_TH |
dc.title.alternative | Sexual harassment of students under Goverment Teacher and Education Personnel Act,B.E.2547 (2004) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this independent study “The Sexual Harassment of Students under Government Teacher and Education Personnel Act,B.E.2547 (2004)” are: to (1) to study the concepts, theories and principles relating to sexual harassment; (2) to study the law relating to sexual harassment from the Central Personnel Agency of government teachers and educational personnel, the civil service law, and criminal law; (3) to study the issue of sexual harassment to learners or students, and (4) to suggest the guidelines and resolve the issue of sexual harassment of learners or students appropriately and fairly. This independent study is a qualitative research, which was conducted by studying documents that relate to sexual harassment of learners or students. In addition from this, the Court’s verdicts and decisions from the Central Personnel Agency are also studied. and presented in descriptive analysis format. This research found that: (1) Section 94, Paragraph three of the Government Teacher and Educational Personnel Act, B.E. 2547, specified sexual harassment to learners or students is a serious misconduct. Since the term “sexual harassment” has a wide definition, it can be said that if there is sexual assault, obscenity, verbal sexual harassment, or other behavior leading to sexuality towards learners or students, then it is considered as a serious misconduct entirely; (2) the Central Personnel Agency of educational personnel have considered misconduct in the case of sexual harassment according to the government teacher law that are different from the civil servant law, in which the civil servant law have definite ways to conduct trials and have different levels. For sexual offences according to Thai criminal law, sexual abuse crimes are clearly separated from obscenity crimes, and punishments are differents, which are similar to sexual crimes in foreign laws; (3) the fact that the government teacher law specified sexual harassment to learners or students as a serious misconduct raises issues of injustice, using various discretions that are not of the same standard with using illegitimate discretions that do not follow the common principles, and law enforcements are not efficient; (4) sexual harassment actions that are violent or cruel should be specified in the TPEC rule, as released according to Section 94, paragraph three in the Government Teacher and Educational Personnel Act, in order to resolve the issue of sexual harassment to learners or students appropriately and fairly | en_US |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License