กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3904
ชื่อเรื่อง: | การล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Sexual harassment of students under Goverment Teacher and Education Personnel Act,B.E.2547 (2004) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภาณุมาศ ขัดเงางาม ปณิดา เสนนันตา, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี สิทธิทางเพศ ข้าราชการครู--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การค้นคว้าอิสระเรื่อง การล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศ (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ จากองค์กรกลางบริหารงานบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กฎหมายข้าราชการพลเรือน และกฎหมายอาญา (3) ศึกษาปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา (4) เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาข้อกฎหมายการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษาให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม การค้นคว้าอิสระ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากคำพิพากษาของศาล คำวินิจฉัยขององค์กรกลางบริหารงานบุคคล และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า (1) มาตรา 94 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 กำหนดให้การล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษาเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยคำว่า “ล่วงละเมิดทางเพศ” มีความหมายที่กว้าง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าหากมีการกระทำชำเรา การอนาจาร การล่วงละเมิดทางเพศด้วยวาจา หรือพฤติกรรมอื่นที่ส่อไปในทางเพศต่อผู้เรียน หรือนักศึกษาถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทั้งสิ้น (2) องค์กรกลางบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับการศึกษาได้พิจารณาความผิดวินัยกรณีล่วงละเมิดทางเพศตามกฎหมายข้าราชการครูแตกต่างจากกฎหมายข้าราชการพลเรือน โดยกฎหมายข้าราชการพลเรือนมีแนวทางในการพิจารณาโทษที่ชัดเจนและมีระดับการลงโทษที่แตกต่างกัน สำหรับความผิดทางเพศตามกฎหมายอาญาของไทยได้แยกความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและความผิดฐานอนาจารไว้อย่างชัดเจน และมีบทลงโทษที่แตกต่างกันเช่นเดียวกับความผิดทางเพศตามกฎหมายต่างประเทศ (3) การที่กฎหมายข้าราชการครูกำหนดให้การล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษาเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรม การใช้ดุลพินิจที่หลากหลายไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันการใช้ดุลพินิจที่มิชอบไม่เป็นไปตามหลักกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (4) ควรกำหนดหลักเกณฑ์การกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดทางเพศที่มีลักษณะของความรุนแรงหรือร้ายแรงไว้ในกฎ ก.ค.ศ. ซึ่งออกตามมาตรา 94 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อในการแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ต่อผู้เรียนหรือนักศึกษาให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3904 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License