Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3905
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสราวุธ ปิติยาศักดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปริณดา สิงห์ลอ, 2512--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-09T06:26:01Z-
dc.date.available2023-03-09T06:26:01Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3905-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง สิทธิในสุขภาพของแรงงานนอกระบบของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย แนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสวัสดิการทางสังคมด้านสิทธิ ในสุขภาพของแรงงานนอกระบบของประเทศไทยและในระดับสากล เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับจัดสวัสดิการทางสังคมด้านสิทธิในสุขภาพของแรงงานนอกระบบ ตามกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ ตลอดจนอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านสิทธิในสุขภาพสำหรับแรงงานนอกระบบตามกฎหมายไทยกับต่างประเทศ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านสิทธิในสุขภาพสำหรับแรงงานนอกระบบของไทยพร้อมกับเสนอแนะแนวทางในการออกกฎหมายคุ้มครองทางด้านหลักประกันทางสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับแรงงานนอกระบบของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร โดยผู้ศึกษา ได้ใช้วิธีการรวบข้อมูลจากตำรา บทความ ผลงานวิจัย อนุสัญญา และข้อเสนอแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กฎหมายไทยและกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวกับแรงงานนอกระบบ จากการศึกษาพบว่า แรงงงานนอกระบบในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิในสุขภาพและประโยชน์ทดแทนเป็นการเฉพาะ มีเพียงสิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ในฐานะประชาชนคนไทยทั่วไป ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้ ไม่ครอบคลุมโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน ตลอดจนไม่ครอบคลุมประโยชน์ทดแทนด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชดเชยรายได้ยามเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือชราภาพ อันส่งผลกระทบโดยตรง ต่อคุณภาพชีวิตและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยภาพรวม รัฐควรมีนโยบายในการให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิในสุขภาพ และประโยชน์ทดแทนสำหรับแรงงานนอกระบบเป็นการเฉพาะ โดยเริ่มจากการปรับปรุง พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 ในการขยายความครอบคลุมด้านสิทธิการรักษาพยาบาลให้แก่แรงงานนอกระบบ ตลอดจนเพิ่มช่องทางเลือกให้กับแรงงานนอกระบบผ่านรูปแบบบัตรประกันสุขภาพตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ให้มีความครอบคลุมโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน อันเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคง ทางสุขภาพ และความมั่นคงทางสังคมให้แก่แรงงานนอกระบบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสิทธิการรักษาพยาบาลth_TH
dc.subjectแรงงานนอกระบบth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleสิทธิในสุขภาพของแรงงานนอกระบบของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeRight to health of informal workers in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of Independent Study on the Right to Health of Informal Workers in Thailand are to study the meaning of the concept of social welfare in health of informal workers in Thailand, to study legal measures regarding social welfare of informal workers under Thai law, to compare social welfare benefits for informal workers under Thai law with those of foreign countries, to analyze the problems of social welfare rights in health of informal workers in Thailand as well as to provide suggestion in health care for informal workers in Thailand. This Independent study is a qualitative research based on documentary research from textbooks, research, conventions and recommendations of the ILO, Thai Laws and Foreign Laws related to informal Labor. According to studies, it has been found that Informal employment in Thailand is not yet legally recognized and protected. There are only rights under the National Health Security Act, B.E. 2545, as general Thai people. This right does not cover disease and work injury. It does not also cover other benefits, such as compensation for sickness, disability or old age, which directly affects the quality of life and the economy of the country. The state should have a policy to ensure the recognition and protection of health benefits for informal workers in particular. At first, under Section 40 of the Social Security Act, BE 2533, it should extend the coverage of the right to medical treatment to informal workers. It also provides an option for informal workers through health insurance cards according to the National Health security Act BE 2545 to cover occupational diseases and injuries. This is a guarantee of health security and social security for informal workers for the better quality of lifeen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons