กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3905
ชื่อเรื่อง: สิทธิในสุขภาพของแรงงานนอกระบบของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Right to health of informal workers in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สราวุธ ปิติยาศักดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปริณดา สิงห์ลอ, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สิทธิการรักษาพยาบาล
แรงงานนอกระบบ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง สิทธิในสุขภาพของแรงงานนอกระบบของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย แนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสวัสดิการทางสังคมด้านสิทธิ ในสุขภาพของแรงงานนอกระบบของประเทศไทยและในระดับสากล เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับจัดสวัสดิการทางสังคมด้านสิทธิในสุขภาพของแรงงานนอกระบบ ตามกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ ตลอดจนอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านสิทธิในสุขภาพสำหรับแรงงานนอกระบบตามกฎหมายไทยกับต่างประเทศ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านสิทธิในสุขภาพสำหรับแรงงานนอกระบบของไทยพร้อมกับเสนอแนะแนวทางในการออกกฎหมายคุ้มครองทางด้านหลักประกันทางสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับแรงงานนอกระบบของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร โดยผู้ศึกษา ได้ใช้วิธีการรวบข้อมูลจากตำรา บทความ ผลงานวิจัย อนุสัญญา และข้อเสนอแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กฎหมายไทยและกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวกับแรงงานนอกระบบ จากการศึกษาพบว่า แรงงงานนอกระบบในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิในสุขภาพและประโยชน์ทดแทนเป็นการเฉพาะ มีเพียงสิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ในฐานะประชาชนคนไทยทั่วไป ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้ ไม่ครอบคลุมโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน ตลอดจนไม่ครอบคลุมประโยชน์ทดแทนด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชดเชยรายได้ยามเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือชราภาพ อันส่งผลกระทบโดยตรง ต่อคุณภาพชีวิตและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยภาพรวม รัฐควรมีนโยบายในการให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิในสุขภาพ และประโยชน์ทดแทนสำหรับแรงงานนอกระบบเป็นการเฉพาะ โดยเริ่มจากการปรับปรุง พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 ในการขยายความครอบคลุมด้านสิทธิการรักษาพยาบาลให้แก่แรงงานนอกระบบ ตลอดจนเพิ่มช่องทางเลือกให้กับแรงงานนอกระบบผ่านรูปแบบบัตรประกันสุขภาพตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ให้มีความครอบคลุมโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน อันเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคง ทางสุขภาพ และความมั่นคงทางสังคมให้แก่แรงงานนอกระบบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3905
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons