กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3907
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการบริโภคยาแผนโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Thai traditional medicine consumption behavior of drug in the Upper Northern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มัณฑนา ทรัพย์เจริญพันธุ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
ยาแผนโบราณ
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการบริโภคยาแผนโบราณ (2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคยาแผนโบราณ และ (3) ศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติ ในการบริโภคยาแผนโบราณของผู้บริโภคที่มีวางขายในร้านขายยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ประชาชนที่มีอายุ 20-60 ปี ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโตยใช้ สถิติค่าร้อยถะ, ค่าเฉลย, t-test, one way anova, chi-square ผลการวิจัยพบว่า (1) เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า แหล่งที่ได้รับ คำแนะนำให้ใช้ยาครั้งแรก และการเลือกใช้ยาแผนปัจจุบัน หริอยาแผนโบราณ หากยาทั้ง 2 ชนิดใช้รักษาโรคได้ดี พอๆ กัน ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล (2) ความคิดเห็นที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดยาพบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับไม่แน่ใจ การเปรียบเทียนความคิดเห็นที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาด จำแนก ตามปัจจัยส่วนบุคคลได้ดังนี้ เพศ โดยรวมแล้วพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน อายุพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ราคา ช่องทางการจัดจำหน่ายไม่แตกต่างกันส่วนด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันตามระดับอายุ จำแนกตามอาชีพ พบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อด้านผลิตภัณฑ์และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านราคา และการ ส่งเสริมการตลาดมีความคิดเห็นแตกต่างกัน จำแนกตามรายได้ศาสนา และระดับวุฒิการศึกษาพบว่า ความคิดเห็น ที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดยาแผนโบราณไม่แตกต่างกัน (3) ข้อมูลทางด้านทัศนคติทื่มีต่อยาแผนโบราณ มีดังนี้ด้านความหลากหลายของยาแผนโบราณในท้องตลาด ด้านความเชื่อมั่นในสรรพคุณทางยา ด้านรสชาติ รูปแบบของยา ต้านความสะดวกในการหาขึ้อยา และต้านความเหมาะสมของราคายา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ไม่แน่ใจทั้งหมด เปรียบเทียบทัศนคติ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าอายุ เพศ ศาสนา อาชีพระดับรายได้ และ ระด้บวุฒิการศึกษาที่แตกต่างกันทัศนคติต่อยาแผนโบราณไม่แตกต่างกัน ในคำถามปลายเปิด ความคิดเห็นที่มีต่อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณให้เป็นที่นิยมพบว่าด้านสรรพคุณยาแผนโบราณต้องระบุสรรพคุณให้ชัดเจน ด้านรูปแบบยาแผนโบราณควรเป็นแคปซูล ด้านการบรรจุหีบห่อยาแผนโบราณควรบรรจุให้มิดชิดและสวยงาม ด้านราคายาเหมาะสมแล้ว ช่องทางการจัดจำหน่ายยาควรมีในร้านขายยาทั้วใปด้านการส่งเสริมการตลาดควรโฆษณา มากขึ้น ด้านความคิดเห็นที่มีต่อข้อบกพร่องของยาแผนโบราณมีดังนี้ด้านสรรพคุณควรปรับปรุง ด้านรูปแบบ ควรเป็นแคปซูลเม็ด ด้านการบรรจุหีบห่อให้ทันสมัยมากขึ้น ด้านราคาเหมาะสมดีแล้ว ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ควรขยายให้มากขึ้น ด้านการส่งเสริมการตลาดมีน้อยเกินไป การเปรียบเทียบความแตกต่างของงานวิจัยครั้งนี้ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3907
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
102054.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons