Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/391
Title: | ศึกษาการออกและการบังคับใช้ข้อกำหนดท้องถิ่น ตามมาตรการสุขาภิบาลอาหาร ภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดยโสธร |
Authors: | คนองยุทธ กาญจนกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา นารถฤดี ปากวิเศษ, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ อาหาร--สุขาภิบาล พระราชบัญญัติการสาธาณสุข |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพึ่อศึกษา (1) สถานการณ์การออกข้อกำหนดท้องถิ่นตามมาตรการสุขาภิบาลอาหาร (2) สถานการณ์การบังคับใช้ข้อกำหนดท้องถิ่นตามมาตรการสุขาภิบาลอาหาร และ (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามมาตรการสุขาภิบาลอาหาร ภายใด้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในจังหวัดยโสธร ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามมาตรการสุขาภิบาลอาหารภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ของเทศบาลและ อบต. ทุกแห่ง ในจังหวัดยโสธร จำนวน 1,950 คน ระยะที่ 1 ทำการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเลือกตัวอย่างแบบจัดชั้น จำนวน 289 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพโดยเลือกตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานที่ศึกษาที่มีการออกข้อกำหนดท้องถิ่นตามมาตรการที่ศึกษาแล้วทุกแห่ง จำนวน 24 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า เทศบาลเมืองออกและบังคับใช้เทศบัญญัติตามมาตรการที่ศึกษานี้แล้ว ส่วนเทศบาลตำบลออกและบังคับใช้เทศบัญญัติตามมาตรการที่ศึกษานี้ร้อยละ 62.0 และ อบต. ออกข้อบังคับตำบลตามมาตรการที่ศึกษานี้เพียงรอยละ 15.0 และบังคับใช้เพียงร้อยละ 66.7 ตัวอย่างที่ศึกษาให้ข้อมูลว่า ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคในการออกและการบังคับใช้ข้อกำหนดท้องถิ่นตามมาตรการที่ศึกษานี้ทั้งในส่วนของเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้ประกอบการด้านอาหารและความตระหนักของผู้บริโภค ตัวอย่างที่ศึกษาในการศึกษาเชิงคุณภาพได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ราชการส่วนท้องถิ่นควรจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในเรื่องนี้อย่างจริงจัง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/391 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License