Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3917
Title: การใช้บังคับกฎหมายล้างมลทินแก่ผู้กระทำความผิดทางวินัย
Other Titles: Enforcing rehabilitation of offenders act with disciplinary offenders
Authors: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยพร ภารศิลป์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความผิด (กฎหมาย)
การลงโทษ--ไทย
วินัย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาถึงข้อความคิดอันเป็นรากฐานของกฎหมายล้างมลทินเพื่อให้ทราบความหมาย ความมุ่งหมาย ตลอดถึงลักษณะสำคัญทางกฎหมายซึ่งแตกต่างจากกฎหมายประเภทอื่น (2) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้บังคับกฎหมายล้างมลทินแก่ผู้กระทำความผิดทางวินัย (3) เปรียบเทียบรูปแบบ แนวความคิด และกฎเกณฑ์การล้างมลทินของประเทศไทยและประเทศอังกฤษ และ (4) หาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายล้างมลทิน ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิดทางวินัยให้มีประสิทธิภาพและใช้บังคับอย่างเป็นธรรม การศึกษาครั้งนี้ ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ด้วยการศึกษาค้นคว้า เอกสารความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลปกครอง ตัวบทกฎหมาย ตำราวิชาการและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วนำมารวบรวมวิเคราะห์และสรุปเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายล้างมลทินต่อไป ผลการศึกษาพบว่า การล้างมลทินมุ่งประสงค์ให้ผู้กระทำผิดได้กลับคืนสู่สถานะเดิม หลังจากรับโทษเป็นเวลาสมควรแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ ไม่สนองต่อความมุ่งหมายดังกล่าว อาจจำแนกได้ดังนี้ (1) คำนิยาม “ผู้ถูกลงโทษทางวินัย” ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการล้างมลทิน บัญญัติไว้ในลักษณะความหมายอย่างแคบเฉพาะแต่ผู้ได้รับโทษทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยวินัยและการดำเนินการทางวินัยเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับการว่ากล่าวตักเตือนหรือทำทัณฑ์บนจากผู้บังคับบัญชา (2) การระบุเกณฑ์ผู้ได้รับการล้างมลทิน รวมถึงผู้ได้รับโทษภายในวันที่กฎหมายล้างมลทินมีผลใช้บังคับ และนอกจากนี้มีการตีความให้ผู้ถูกลงโทษทางวินัยโดยการไล่ออกหรือปลดออกย้อนหลังไปก่อนวันที่กฎหมายล้างมลทินมีผลใช้บังคับ เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการล้างมลทิน ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการล้างมลทินที่ต้องการให้ผู้ถูกลงโทษและได้รับโทษแล้วได้รับโอกาสในการล้างมลทิน (3) การแปลความหมายของถ้อยคำ "ให้ถือว่าไม่เคยต้องโทษ" ความเห็นส่วนใหญ่ เห็นว่ามีผลเป็นการลบล้างเฉพาะโทษไม่รวมถึงความผิดที่ก่อไว้ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์แก่การเข้ารับราชการหรือเข้าสู่ตำแหน่ง ในการนี้ เพื่อให้การล้างมลทินมีประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรม เห็นควรตีความไปในทางคุ้มครองส่งเสริมสิทธิให้กลับคืนดังเดิมยิ่งกว่าการตัดสิทธิ ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพแห่งตำแหน่งหน้าที่การงานที่จะเข้ารับราชการหรือเข้าสู่ตำแหน่ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3917
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม33.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons