Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3919
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดมลพิษอากาศ ฝุ่นละออง PM 2.5
Other Titles: Legal measures on large industrial plant air pollution casuing air pollution PM 2.5 dust
Authors: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยะ ท้วมเกร็ด, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มลพิษทางอากาศ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความหมาย สภาพปัญหาของมลพิษทางอากาศ และผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ มาตรการบังคับทางปกครอง แนวคิดเกี่ยวกับการป้องกัน การควบคุมมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม แนวคิคทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทฤษฎีความรับผิดและการลงโทษทางอาญา (2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายการจัดการมลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (4) เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการมลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการศึกษา ค้นคว้าบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศนโยบายรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตำราวิชาการต่างๆ บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จากเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำการศึกษา วิเคราะห์ และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระบวนการผลิตก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งยังขาดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทั้งมาตรการบังคับทางปกครอง ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทฤษฎีความรับผิดทางอาญา (2) กฎหมายของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ได้นำหลักความสามารถในการรองรับของพื้นที่หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย หลักการป้องกันล่วงหน้า ทฤษฎีการลงโทษเพื่อป้องกันหรือข่มขู่ยับยั้ง ทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู รวมทั้งมาตรการบังคับทางปกครองในรูปของกฎและคำสั่งทางปกครอง หลักความได้สัดส่วน หลักความเหมาะสม หลักความพอสมควรแก่เหตุ และมาตรการจูงใจ มาแก้ไขปัญหา (3) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ไม่มีมาตรการทางกฎหมายต่าฝุ่นละออง PM 2.5 ไม่มีกฎหมายควบคุมที่ตั้งของแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ไม่มีกลไกในการออกคำสั่งทางปกครองและบทกำหนดโทษที่เหมาะสม และไม่มีมาตรการจูงใจ (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอให้ออกกฎหมายลำดับรองเพื่อกำหนดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 และออกกฎกำหนดที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษที่เหมาะสมตามแนวคิดความสามารถในการรองรับของพื้นที่นำหลักการป้องกันล่วงหน้ามาใช้ มีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาต และเพิ่มโทษจำคุกให้เกิดความเกรงกลัวและกำหนดมาตรการจูงใจด้วยการช่วยเหลือด้านการเงินและการลงทุนกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสะอาดใช้ก๊าซธรรมชาติหรือพลังงานทดแทนในกระบวนการผลิต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3919
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons