Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3925
Title: | ปัญหาการบังคับคดีกรณีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 |
Other Titles: | Problems of enforcement of administrative orders to make payments under the administrative procedure Act, B.E.2539 (1996) |
Authors: | สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา พงศ์วุฒิ ธงทอง, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การบังคับคดี การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง ปัญหาการบังคับคดีกรณีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวความคิดและหลักการเกี่ยวกับมาตรการบังคับทางปกครองตามกฎหมายของต่างประเทศ (2) ศึกษาการบังคับทางปกครองตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองของไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับตามมาตรการบังคับทางปกครองกรณีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน (4) หาแนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบังคับตามมาตรการบังคับทางปกครองกรณีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ บทบัญญัติของกฎหมาย ตำรา บทความของผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานของรัฐจำนวนมากไม่สามารถดำเนินการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยวิธีการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ถูกคำสั่งเรียกให้ชำระเงินได้ เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และกระบวนการของการบังคับทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินไว้ เพียงแต่กำหนดให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลมเท่านั้น ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐนั้นมีความยากลำบากในการดำเนินการ กรณีปัญหาดังกล่าวมีแนวทางแก้ไขปัญหาอีกทางหนึ่ง คือ ควรให้หน่วยงานสามารถมอบอำนาจการใช้มาตรการบังคับทางปกครองในการยึด อายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้แก่หน่วยงานของรัฐอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบังคับ คดี เช่น กรมบังคับคดี ดำเนินการแทนได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3925 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License