กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3927
ชื่อเรื่อง: บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญที่มีต่อการปฏิรูปการเมืองไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The role of the constitutional court with Thai Political Reform
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภานิณี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชัย แสงปานแก้ว, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ศาลรัฐธรรมนูญ--ไทย
การปฏิรูปการเมือง--ไทย
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดพื้นฐานในการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ลักษณะทั่วไปและภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญ (2) ศึกษาบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในกระบวนการปฏิรูปการเมืองไทยในกรอบกำหนดของรัฐธรรมนูญ (3) ศึกษาและวิเคราะห์ผลงานของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดำเนินการศึกษาโดยการวิจัยเอกสาร โดยการตรวจเอกสารจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมาย ตำรา รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการและวิทยานิพนธ์ทั้งที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบของเอกสารและสื่ออิเล็กทรอนิกส์สารสนเทศ (Internet) ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับประเด็นของการศึกษาวิจัยนี้ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทในการปฏิรูปการเมืองค่อนข้างมาก โดยพิจารณาได้จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ช่วยให้รัฐธรรมนูญบังเกิดผลในทางปฏิบัติ และเกิดผลต่อความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นคุณค่าของคำวินิจฉัยที่มุ่งแก้ปัญหาพื้นฐานและหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดจากการใช้รัฐธรรมนูญ หรือการนำรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติ เพื่อให้รัฐธรรมนูญนั้นสามารถนำไปใช้ได้ในทางปฏิบัติ ไม่มีข้อติดขัดหรืออุปสรรคขัดขวางใด ๆ หรือแม้แต่การถูกละเมิด บิดเบือน เบี่ยงเบนด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ซึ่งจะนำไปสู่ผลบั้นปลาย หรือผลกระทบตกทอดต่อไปยังการสร้างผลทางปฏิบัติในการใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นไปตามครรลองโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญในที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3927
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons