Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3932
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวนีย์ อัศวโรจน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพร้อมพงศ์ วานิชสมบัติ, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-10T02:32:33Z-
dc.date.available2023-03-10T02:32:33Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3932-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนว มาตรา 126 แห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. .... เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการอันมีลักษณะเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืนกระทำการดังกล่าวต้องระวางโทษทางอาญาตามที่กำหนดไว้ โดยในวรรคสองของมาตรา 126 ได้กำหนดให้การกระทำของคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าการบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะเป็นบทสันนิษฐานว่าการกระทำของบุคคลหนึ่งเป็นเหตุให้อีกบุคคลหนึ่งต้องรับโทษทางอาญา ขัดต่อหลักนิติธรรม หลักประกันสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือไม่ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของมาตรา 126 แห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. .... โดยวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีของรัฐธรรมนูญและกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตลอดจนศึกษากฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งผลประโยชน์ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ Conflict of Interest Act S.C. 2006 ของประเทศแคนาดา และ Act on Anti-Corruption and the Establishment and Operation of the Anti-Corruption & Civil Rights Commission 2008 ของประเทศเกาหลีใต้ ทำการเปรียบเทียบกับบทบัญญัติที่ทำการศึกษา เพื่อให้มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้มีความเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าการแก้ไขปัญหาการขัดกันแห่งผลประโยชน์จะมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายที่มีโทษทางอาญาสำหรับผู้ฝ่าฝืน แต่มาตรา 126 แห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. .... มีลักษณะเป็นบทสันนิษฐานตามกฎหมายที่มีผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดโดยไม่จำต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงการกระทำหรือเจตนาของเจ้าหน้าหน้าที่ของรัฐก่อน เป็นการเอาการกระทำความผิดของบุคคลหนึ่งมาเป็นเงื่อนไขของการสันนิษฐานให้อีกบุคคลหนึ่งมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญา จึงเป็นการสันนิษฐานข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดโดยอาศัยสถานะของบุคคลเป็นเงื่อนไข มิใช่สันนิษฐานข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบของความผิดจากการกระทำซึ่งโจทก์ได้นำสืบให้เห็นถึงการกระทำที่เกี่ยวข้องกับความผิดที่จำเลยได้กล่าวหา จึงขัดกับหลักนิติธรรม ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ผู้ศึกษายังได้มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกฎหมายรัฐธรรมนูญ--ไทยth_TH
dc.subjectการทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของมาตรา 126 แห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ....th_TH
dc.title.alternativeThe constitutional Review of the article 126 of the Proposed Organic act on Counter Corruptionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeSection 126 of the Organic Act on Counter Corruption, B.E. … is a provision prohibiting public officials to act in a contrary manner between personal and public interests. Any officer who violates this provision shall be liable to the criminal penalty as prescribed. In paragraph 2 of Section 126, the actions of spouses of government officials are the same as the actions performed by government officials. This is an issue that must be considered when prescribing a law assuming that one's actions cause another person to commit a criminal offence whether it is against the rule of law, Principles of rights and freedoms or even the Thai constitution as the supreme law of the country. The indicated study of constitutional legitimacy of Section 126 of the Draft Organic Act on Counter Corruption BE .... by analysing the concepts and theories of the Constitution and the law on conflict of interests. In addition, this minor thesis also studies about conflict of interests both in Thailand and abroad including Conflict of Interest Act S.C. 2006 of Canada and Act on Anti-Corruption and the Establishment and Operation of the Anti-Corruption & Civil Rights Commission 2008 of Korea. The researcher has compared the selected provisions so that there are suggestions to improve the provision to be more appropriate. According to the study, although it is necessary to address the conflict of interests and criminal legal measures is necessarily needed to be applied for violators. However, this section is a presumption under the law that a public official is acting against the law without the need to prove the actions or intentions of that person. It is misconduct of one person as a condition of assumption which causes another person to be punished by a criminal penalty. It is an assumption of the elementary facts of the offence based on the status of the person as a condition. It is not an assumption based on the action that the plaintiff has shown the action related to the offence that the defendant has been accused. It is against the rule of law and the constitution. Moreover, the researcher has proposed recommendations to amend the provision to make it more appropriate and compatible with the constitution. This is in line with the intention of the law which focuses on solving conflict of interests among government officialsen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons