กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3932
ชื่อเรื่อง: ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของมาตรา 126 แห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ....
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Constitutional Review of the article 126 of the Proposed Organic act on Counter Corruption
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสาวนีย์ อัศวโรจน์
พร้อมพงศ์ วานิชสมบัติ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายรัฐธรรมนูญ--ไทย
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนว มาตรา 126 แห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. .... เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการอันมีลักษณะเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืนกระทำการดังกล่าวต้องระวางโทษทางอาญาตามที่กำหนดไว้ โดยในวรรคสองของมาตรา 126 ได้กำหนดให้การกระทำของคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าการบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะเป็นบทสันนิษฐานว่าการกระทำของบุคคลหนึ่งเป็นเหตุให้อีกบุคคลหนึ่งต้องรับโทษทางอาญา ขัดต่อหลักนิติธรรม หลักประกันสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือไม่ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของมาตรา 126 แห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. .... โดยวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีของรัฐธรรมนูญและกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตลอดจนศึกษากฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งผลประโยชน์ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ Conflict of Interest Act S.C. 2006 ของประเทศแคนาดา และ Act on Anti-Corruption and the Establishment and Operation of the Anti-Corruption & Civil Rights Commission 2008 ของประเทศเกาหลีใต้ ทำการเปรียบเทียบกับบทบัญญัติที่ทำการศึกษา เพื่อให้มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้มีความเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าการแก้ไขปัญหาการขัดกันแห่งผลประโยชน์จะมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายที่มีโทษทางอาญาสำหรับผู้ฝ่าฝืน แต่มาตรา 126 แห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. .... มีลักษณะเป็นบทสันนิษฐานตามกฎหมายที่มีผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดโดยไม่จำต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงการกระทำหรือเจตนาของเจ้าหน้าหน้าที่ของรัฐก่อน เป็นการเอาการกระทำความผิดของบุคคลหนึ่งมาเป็นเงื่อนไขของการสันนิษฐานให้อีกบุคคลหนึ่งมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญา จึงเป็นการสันนิษฐานข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดโดยอาศัยสถานะของบุคคลเป็นเงื่อนไข มิใช่สันนิษฐานข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบของความผิดจากการกระทำซึ่งโจทก์ได้นำสืบให้เห็นถึงการกระทำที่เกี่ยวข้องกับความผิดที่จำเลยได้กล่าวหา จึงขัดกับหลักนิติธรรม ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ผู้ศึกษายังได้มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3932
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons