กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3937
ชื่อเรื่อง: | การใช้อำนาจทางปกครองในความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Exercising of officials’ abuse of administrative power |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภาณุมาศ ขัดเงางาม พลเดช ศรีบุญเรือง, 2498- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ความรับผิดของราชการ--ไทย ความรับผิด (กฎหมาย) ข้าราชการ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่และการชาระค่าสินไหมทดแทน เพื่อศึกษาการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง และเพื่อศึกษาผลกระทบในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่ใช้มาตรการบังคับทางปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการศึกษาค้นคว้า โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์ และการรายงานเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และผลแห่งการละเมิดของเจ้าหน้าที่ในระดับใดของเจ้าหน้าที่ ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจและหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และต้องชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัดส่วนผลแห่งการกระทำความผิด และไม่มีมาตรฐานกลางการวินิจฉัยการใช้อำนาจทางปกครองว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิด ผลแห่งการละเมิดนั้นต้องชาระค่าสินไหมทดแทน และมีการใช้อำนาจทางปกครองออกคำสั่งให้ผู้นั้นชำระค่าสินไหมทดแทนภายในกำหนด ซึ่งหากไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน จะต้องมีหนังสือเตือนชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดไม่น้อยกว่า 7 วัน หากไม่ปฏิบัติตามคำเตือน อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรือายัดทรัพย์สิน ขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้ครบถ้วน โดยให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม และไม่ต้องฟ้องศาลเพื่อบังคับคดี และหากเห็นว่ายังมีข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ และนอกจากนี้ พบว่า ผลกระทบในการปฏิบัติงานของนิติกรที่ได้รับมอบอำนาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง นิติกรยังขาดความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับคดี และไม่มี แนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง หากใช้มาตรการบังคับทางปกครองดังกล่าวอาจไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทรัพย์สินของประชาชน และสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดี |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3937 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.66 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License