Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3938
Title: ปัญหาการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
Other Titles: The application of the law on the reform of agricultural land
Authors: วิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชรี พันธ์รอด, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การปฏิรูปที่ดิน--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหาการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาจากเอกสารโดยการรวบรวมเอกสาร กฎหมายต่าง ๆ ระเบียบปฏิบัติของหน่วยราชการ และตรวจสอบจากวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนสำคัญ ดำเนินการศึกษาค้นคว้ามาตรการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร (Content Analysis) เกี่ยวกับปัญหาการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผลการศึกษาพบว่า การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของประเทศไทย ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขสองครั้ง ในปี พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2532 กำหนดอำนาจการจัดซื้อที่ดินเอกชนของ ส.ป.ก. ไว้อย่างจำกัดให้จัดซื้อได้เฉพาะในท้องที่ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้วเท่านั้น จึงควรเพิ่มเติมให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อที่ดินนอกเขตปฏิรูปที่ดินได้ และดำเนินการบังคับเวนคืนที่ดินจากเจ้าของที่ถือครองเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอย่างจริงจัง เพื่อนำที่ดินมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรผู้ไร้ที่ดินทำกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยกเลิกระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยการให้ความยินยอมในการนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น พ.ศ. 2541 เนื่องจากเป็นการออกกฎโดยใช้อานาจเกินกว่าที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ และจัดประเภทของการใช้ประโยชน์ในที่ดินเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การที่เกษตรกรผู้ได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 แต่ต่อมาไม่ประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมอีกต่อไป เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจนไม่อาจประกอบเกษตรกรรมต่อไปได้และไม่มีทายาทที่จะสืบสิทธิในที่ดิน กฎหมายกำหนดให้ต้องสิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน จึงสมควรกำหนดมาตรการในการจ่ายค่าชดเชยเพื่อความเป็นธรรม และป้องกันการซื้อขายสิทธิ ส.ป.ก.4-01 โดยฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมาย ตลอดจนไม่มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตกทอดทางมรดกในกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้รับโอนจาก ส.ป.ก. เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการจัดที่ดินให้แก่ผู้มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรเท่านั้น และไม่ประสงค์ให้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยจนไม่เหมาะสมต่อการประกอบเกษตรกรรม จึงต้องกำหนดทายาทไว้แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ปัญหาดังกล่าวทำให้การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมยังไม่บรรลุผลสมดังเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของการประกาศใช้บังคับกฎหมายดังกล่าว จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3938
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons