Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3941
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลาวัลย์ หอนพรัตน์th_TH
dc.contributor.authorพากรณ์ เทียกทอง, 2526-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-10T06:51:30Z-
dc.date.available2023-03-10T06:51:30Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3941en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลปกครองกับหน่วยงานทางปกครอง” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาถึงแนวคิด และหลักการที่เกี่ยวกับการบังคับคดีปกครอง 2. เพื่อศึกษาถึงการบังคับคดีปกครองในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส และประเทศไทย 3. เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหา อุปสรรคและเหตุขัดข้องในการดำเนินการบังคับคดีปกครองกับหน่วยงานทางปกครอง 4. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงแนวทางหรือวิธีการที่ควรนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา อุปสรรคและเหตุขัดข้องในการดำเนินการบังคับคดีปกครองกับหน่วยงานทางปกครอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับคดีปกครอง และแก้ไขหรือเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายของคู่กรณี อันเนื่องมาจากการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร (Document Research) โดยการวิเคราะห์ ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั่วไป ได้แก่ หนังสือ บทความทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาและคำสั่งของศาลปกครองและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครอง ผลจากการศึกษาพบว่า การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลปกครองแม้พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 บัญญัติให้สำนักงานศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามคำบังคับของศาลปกครอง แต่อย่างไรก็ตามในการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติใดให้อำนาจสำนักงานศาลปกครอง หรือสำนักบังคับคดีปกครองในการใช้มาตรการบังคับในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายที่หน่วยงานทางปกครองที่แพ้คดีแล้วไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือปฏิบัติตามคำพิพากษาล่าช้าเกินสมควร มีเพียงแนวทางในการดำเนินการบังคับคดีตามระเบียบสำนักงานศาลปกครอง ว่าด้วยการดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำบังคับของศาล ปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดไว้แต่เพียงแนวทางในการติดตามผลการดำเนินการของหน่วยงานทางปกครองเพื่อให้เป็นไปตามคำบังคับของศาลเท่านั้น จึงเห็นควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองกับหน่วยงานทางปกครองไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นการรองรับอำนาจไว้อย่างชัดเจนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการบังคับคดีth_TH
dc.subjectคำพิพากษาศาลth_TH
dc.subjectศาลปกครอง--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลปกครองกับหน่วยงานทางปกครองth_TH
dc.title.alternativeAdministrative execution of the administrative court and the administrative agenciesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent research titled “Administrative Execution of the Administrative Court and the administrative agencies”. First, it aimed to study the thought and principles of the Administrative Execution. Second, it aimed to study the Administrative Execution in Germany, France, and Thailand. Third, it aimed to study problems, barriers, and interferences in the Administrative Execution with the administrative agencies. Finally, the study aimed to analyze ways or approaches for solving the problems, barriers, and interferences in the Administrative Execution in order to build the effectiveness of the Administrative Execution and to solve the problems and remedy the grievance of the parties because of the act from the administrative agencies or government officers. This independent research is the documentary research conducting based on Documentary Research by analyzing, searching, and gathering the data from general documents including books, journals, researches, thesis, the judgment and order of the Administrative Court and laws relating to the administrative agencies or government officers who did not follow the judgment of the Court. The study found that even though the Act on Establishment of Administrative Court and the Administrative Court Procedure, B.E. 2542 (1999), enacted the Administrative Court to have authorities to follow the judgment of the Administrative Court, the Execution of Judgment of the Administrative Court did not show any law that gave the jurisdiction to the Administrative Court or the Office of the Administrative Courts for the Administrative Execution when the administrative agencies or government officers were the parties who lost the case and did not follow the judgment of the Court, or they followed unhurriedly. However, there was a way for the Administrative Execution which followed the Rule of the Office of the Administrative Courts. In other words, the Administrative Execution must follow the judgment of the Administrative Court, B.E. 2544 (2001). The judgment specified only the ways to follow up the overall outcome of the administrative agencies in order to follow the judgment of the Administrative Court. Therefore, this study revealed that the Court should specify rules and approaches for the Administrative Execution of the Administrative Court and the administrative agencies in the Act on Establishment of Administrative Court and the Administrative Court Procedure, B.E. 2542 (1999), in order to support the authorities obviously.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons