กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3943
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์การบริหารการคลังตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ศึกษากรณีอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of fiscal administration for universal health insurance project : a case study of Waritchaphum District, Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพรรณิการ์ เสรีกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
การคลัง--การบริหาร.--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัคถุประสงค์เพึ่อ (1) วิเคราะห์การบริหารการคลังตามโครงการหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ของอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคของการบริหารการคลัง ตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (3) เพื่อเสนอแนะแนวทาง การพัฒนาการบริหารการคลังตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาสถานพยาบาลในเขตอำเภอวาริชภูมิ ซึ่งประกอบด้วยโรงพยาบาลวาริชภูมิ 1 แห่ง และสถานีอนามัย 9 แห่ง ในการวิจัยนี้ได้ศึกษาวิจัยจากเอกสาร รายงานด้านการบริหารการคลัง และจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ด้านการบริหารการคลัง จำนวน 14 คน ซึ่ง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล จำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) ในปืงบประมาณ 2550 โรงพยาบาลและสถานีอนามัยมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 18,555,897.24 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.08 จากปืงบประมาณ 2549 ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับเงินกองทุน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มมากขึ้น ในปืงบประมาณ 2550 โรงพยาบาลและสถานีอนามัยมีรายจ่ายรวม เพิ่มขึ้น 4,575,567.59 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.65 จากปืงบประมาณ 2549 โดยค่าเวชภัณฑ์ยาเป็นรายจ่ายที่มี การเพิ่มขึ้นมากที่สุด และในปืงบประมาณ 2550 โรงพยาบาลและสถานีอนามัยมีหนี้สินลดลง 2,325,873.37 บาท หรือลดลงร้อยละ 26.30 จากปืงบประมาณ 2549 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ค่าเวชภัณฑ์ยา สำหรับการวิเคราะห์ อัตราส่วนทางการเงินของโรงพยาบาลและสถานีอนามัย พบว่าอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนในปืงบประมาณ 2549 เท่ากับ 0.48 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง ส่วนอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนในปืงบประมาณ 2550 เท่ากับ 2.12 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี และอัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัวในปืงบประมาณ 2549 เท่ากับ 0.46 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต้อง ปรับปรุง ส่วนอัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัวในปีงบประมาณ 2550 เท่ากับ 2.01 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี (2) ปัญหา อุปสรรคของการบริหารการคลัง คือ สถานีอนามัยมีปัญหาเรื่องการได้รับงบประมาณล่าช้า จึงทำให้ขาด งบประมาณในการดำเนินงานและมีปัญหาหนี้ค้างชำระ โรงพยาบาลและสถานีอนามัยมีรายจ่ายค่าวัสดุเพิ่มสูงขึ้น โดยค่าเวชภัณฑ์ยามีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับแรก และมีปัญหาเรื่องเจ้าหน้าที่ขาดความรู้เรื่องระเบียบการเบิกจ่าย (3) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารการคลัง คือ ควรลดระยะเวลาและลดขั้นตอนที่สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัคสกลนคร โอนเงินมาให้สถานีอนามัยให้รวดเรึวขึ้น ควรลดรายจ่ายค่าเวชภัณฑ์ยาโดยการลด การใช้ยาเกินความจำเป็น และควรจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่เรื่องระเบียบการเบิกจ่าย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3943
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
105297.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons