Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3944
Title: บทบาทในการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: The roles of school administrators in knowledge management of primary schools in Bung Samphan District, Phetchabun Province
Authors: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิลัยภรณ์ ปิ่นทะวงค์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริหารโรงเรียน--การบริหาร.--ไทย--เพชรบูรณ์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทในการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ และ (2) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน เขตอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูของรัฐในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 230 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า และแบบสอบถามปลายเปิด มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า (1) บทบาทในการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน เขตอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมผู้บริหารมีบทบาทอยู่ในระดับปานกลาง เพื่อพิจารณาบทบาทตามขั้นตอนของการจัดการความรู้ พบว่า ผู้บริหารมีบทบาทอยู่ในระดับมาก 5 ขั้นตอน เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ขั้นตอนการประมวลและกลั่นกรองความรู้ ขั้นตอนการบ่งชี้ความรู้ ขั้นตอนการจัดความรู้ให้เป็นระบบขั้นตอนการเรียนรู้ และขั้นตอน การสร้างและแสวงหาความรู้ตามลำดับ ส่วนบทบาท ที่ผู้บริหารดำเนินการในระดับปานกลางมี 3 ขั้นตอนเรียงจากมากไปน้อย คือ ขั้นตอนการประเมินผล ขั้นตอนการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขั้นตอนการเข้าถึงความรู้ตามลำดับ และ(2) ปัญหาใน การจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ขาดการสร้างและแสวงหาความรู้ที่มากเพียงพอ ขาดช่องทางการเข้าถึงความรู้ ขาดบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขาดการจัดระบบการจัดการความรู้ที่ต่อเนื่อง โดยมีข้อเสนอแนะให้ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนงบประมาณเพื่อการแสวงหาความรู้ของบุคลากรให้มากขึ้น ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้น ปรับปรุงระบบการจัดการความรู้ให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และสร้างระบบกลไกให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ได้สะดวกขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3944
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_128692.pdf14.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons