กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3945
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems of tourism business in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พีรวัส ประสาทกลาง, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้านี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงปัญหาในทางกฎหมายของการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวยังไม่เพียงพอต่อการสร้างมาตรฐานผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวและการคุ้มครองนักท่องเที่ยว รวมทั้งเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายที่จะสร้างมาตรฐานให้กับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งมาตรการในการคุ้มครองนักท่องเที่ยวให้ได้รับความเป็นธรรมและบริการที่มีคุณภาพจากผู้ประกอบการ การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยการวิจัยทางกฎหมาย จะศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว อำนาจของเจ้าหน้าที่ในการดูแลมาตรฐานการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว การเยียวยาความเสียหายให้กับนักท่องเที่ยว และบทลงโทษเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่ไม่เหมาะสม โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจของต่างประเทศ คือ ญี่ปุ่นและซึ่งถือเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในเรื่องการท่องเที่ยว จากการศึกษาพบว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยมีปัญหาข้อบกพร่องบางประการ จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายใน 4 ประเด็นดังนี้ ประการแรกคือ การกำหนดให้มีการประสานงานการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม การประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ประการที่สองคือ กำหนดให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการเข้าไปตรวจสอบมาตรฐานสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและมีอำนาจกำหนดสัญญามาตรฐานธุรกิจการท่องเที่ยว ประการที่สามคือ กำหนดให้มีผู้แทนดำเนินคดีแทนนักท่องเที่ยวเพื่อเยียวยาความเสียหาย ประการที่สี่คือ เพิ่มประสิทธิภาพบทลงโทษในการเพิกถอนหรือพักการใช้ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวให้ดีขึ้น เพื่อทำให้นักท่องเที่ยวได้รับบริการที่มีมาตรฐานและเป็นธรรม โดยนำแนวทางการการปรับปรุงแก้ไขจากกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบธุรกิจของต่างประเทศ คือญี่ปุ่นและฝรั่งเศส เป็นกรณีศึกษา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3945
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons