Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3946
Title: ความเสมอภาคในการปล่อยชั่วคราวในชั้นพนักงานสอบสวน
Other Titles: Equality in provisional releases in the inquiry official procedure
Authors: ภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิรุณ วุฒิศรี, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความเสมอภาค
การปล่อยชั่วคราว
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ความเสมอภาคในการปล่อยชั่วคราวในชั้นพนักงานสอบสวนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวความคิดในการปล่อยชั่วคราวโดยเสมอภาค (2) ศึกษาและวิเคราะห์หลักเกณฑ์และวิธีการปล่อยชั่วคราวโดยเสมอภาคของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี และประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (3) ทราบปัญหา และวิเคราะห์ปัญหาการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในชั้นพนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไข ปรับปรุงหลักเกณฑ์การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในชั้นพนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาวิจัยเอกสาร จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยชั่วคราว เช่น หนังสือ วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในครั้งนี้ และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าหลักเกณฑ์การปล่อยชั่วคราวตามระบบกฎหมายของประเทศไทยได้วางหลักให้ผู้ต้องหาทุกคนได้รับการปล่อยชั่วคราวเป็นหลัก ส่วนการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นข้อยกเว้น การพิจารณาอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 5 ปี พนักงานสอบสวนสามารถเลือกปล่อยชั่วคราวได้ 3 รูปแบบ คือ ไม่มีประกัน หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน และจะกำหนดเงื่อนไขใดให้ผู้ต้องหาปฏิบัติเพื่อป้องกันการหลบหนีได้ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าว เปิดโอกาสให้ใช้ดุลยพินิจได้อย่างกว้างขวาง แต่ในทางปฏิบัติไม่ว่าคดีจะมีอัตราโทษเท่าใด พนักงานสอบสวนมักจะเลือกปล่อยชั่วคราวโดยรูปแบบมีประกัน และหลักประกันทุกคดี ซึ่งการปล่อยชั่วคราวโดยมุ่งเน้นไปที่หลักประกันซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้น ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคระหว่างผู้ต้องหาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกับผู้ต้องหาที่มีฐานะยากจน เนื่องจากผู้ต้องหาที่ยากจนไม่สามารถที่จะหาหลักประกันที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมาเป็นหลักประกันได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3946
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons