กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3948
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 : ศึกษากรณีโรงแรมในจังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Enforcement problem of Hotel Act B.E. 2547(2004) : case study of hotels in Chiang Rai province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิราพร สุทันกิตระ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิชัย เขื่อนเพ็ชร์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ดุลยพินิจ
โรงแรม--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับดุลพินิจ ฝ่ายปกครอง ความเป็นมาและวิวัฒนาการของกฎหมายโรงแรมของไทย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2545 ที่มีผลต่อการใช้ดุลพินิจทางปกครองของนายทะเบียน รวมถึงแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 เกี่ยวกับขั้นตอนการใช้ดุลพินิจทางปกครองของนายทะเบียนเพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้อง กับเจตนารมณ์ของกฎหมาย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมาย ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ งานวิจัย และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุง และพัฒนากฎหมาย ผลการศึกษา พบว่าพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายที่ใช้มานาน มีบทบัญญัติหลายมาตราที่ไม่เหมาะสมกับการบังคับใช้ในปัจจุบัน เกิดปัญหาการบังคับใช้ ได้แก่ ปัญหาความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติในการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายไม่เฉพาะเจาะจง ปัญหาการใช้ดุลพินิจทางปกครองจากการที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมสามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงแรมได้ก่อนที่จะมีการยื่นคำขออนุญาตต่อนายทะเบียนส่งผลให้นายทะเบียนไม่มีโอกาสใช้ดุลพินิจเบื้องต้นเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแบบแปลน แผนผัง และรายการ ของโรงแรมก่อนที่จะมีการก่อสร้างว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ และปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในลักษณะช่องว่างทางกฎหมายทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงกฎหมายขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3948
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม62.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons