กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/394
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามกระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล พ.ศ. 2544
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คนองยุทธ กาญจนกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทิพย์ เชิดชูพงศ์ล้ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิพนธ์ แสนโคตร, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
บุคลากรสาธารณสุข--ไทย
การพัฒนาบุคลากร
โรงพยาบาล--การรับรองคุณภาพ
วันที่เผยแพร่: 2544
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิคเห็นของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานีที่มีค่าการพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามกระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรระหว่างกลุ่มผู้บริหารกับกลุ่มผู้ปฏิบัติในโรงพยาบาลที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามกระบวนการ HA (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรระหว่างโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณกาพตามกระบวนการ HA กับโรงพยาบาลที่กำลังดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามกระบวนการ HA ที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามกระบวนการ HA (5) หาข้อเสนอแนะในการกำหนดแนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามกระบวนการ HA กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน 7 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการ HA นำร่องของจังหวัดอุบลราชธานี ปึพ.ศ. 2544 จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (1 - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) สถิติทดสอบมีเดียน (Median test) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าที่แตกต่างระหว่างคู่ที่แตกต่างด้วยวิธีของแทมฮาเน (Tamhane's test) ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 7 แห่ง มีความคิดเน้นเฉลี่ยโดยรวมต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามกระบวนการ HA ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน (2) บุคลากรกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มผู้ปฏิบัติในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดมและโรงพยาบาลม่วงสามสิบมีความคิดเห็นแตกต่างกันระดับนัยสำคัญ 0.05 (3) บุคลากรจากโรงพยาบาลสมเด็จพระบุพราชเดชอุดมที่ผ่านการรับรองคุณภาพตาม กระบวนการ HA และโรงพยาบาลกุดข้าวปุ้นที่กำลังดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามกระบวนการ HA มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (4) บุคลากรส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจต่อกระบวนการและแนวคิดการพัฒนาคุณภาพ (5) ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสำคัญในเรื่องการจัดสรรงบประมาณและกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินการพัฒนาบุคลากรอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การพัฒนาทรัพยากรบุคคลประสบผลสำเร็จ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/394
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
76216.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons