กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/396
ชื่อเรื่อง: การใช้รายการของสถานีวิทยุ จส.2 กองทัพบก เป็นเครื่องมือทางการเมืองในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The use of program of Radio Station Army JorSor.2 as political tool in Mr.Abhisit Vejjajiva Government
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรวลัญช์ โรจนพล
รุ่งนิรันต์ นามวิชา, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์
สื่อมวลชนกับการเมือง--ไทย
สถานีวิทยุ--ไทย--การมีส่วนร่วมทางการเมือง
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีอีทธิพลต่อการใช้รายการทางสถานีวิทยุ จส.2 กองทัพบกเป็นเครื่องมือทางการเมืองในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ (2) ลักษณะการใช้ รายการทางสถานีวิทยุ จส.2 กองทัพบก เป็นเครื่องมือทางการเมืองในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้จากการเลือกแบบ เฉพาะเจาะจง 3 กลุ่ม คือ (1) ผู้เกี่ยวข้องกับรายการของสถานีวิทยุ จส.2 กองทัพบก จำนวน 4 คน (2) นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์และนิเทศศาสตร์ อย่างละ 1 คน (3) สื่อมวลชน จำนวน 2 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มือิทธิพลต่อการใช้รายการทางสถานีวิทยุ จส.2 กองทัพบก เป็น เครื่องมือทางการเมืองในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมืองภายในประเทศ ที่ กองทัพมีจุดมุ่งหมายเดียวกับรัฐบาลในการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยใช้พระราชบัญญัติการประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ.2551 เป็นเครื่องมือเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ส่วนการแทรกแซงรายการ และทัศนคติส่วนบุคคลของผู้จัดรายการตลอดจนปัจจัยด้านความสัมพันธ์ของนักจัดรายการกับนักการเมือง นั้นไม่มีอิทธิพลต่อการนำเสนอรายการแต่อย่างใด (2) ลักษณะการใช้รายการทางสถานีวิทยุ จส.2กองทัพบก เป็นเครื่องมือทางการเมืองในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ พบว่ามีการใช้รายการเพื่อปลูกฝัง อุดมการณ์ทางการเมือง การเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ซึ่งได้ดำเนินการมากขึ้นในรัฐบาลนี้มีการ สนับสบุนรัฐบาล ในลักษณะการนำเสนอผลงานรัฐบาล แต่ไม่มีการประเมินผลนโยบายของรัฐบาล และมี การรักษาผลประโยชน์ของกองทัพ โดยเฉพาะในการนำเสนอความจำเป็นในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/396
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142741.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons