กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3994
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of cooperative learning management using STAD technique on science learning achievement in the topic of substance and substance properties of Prathom Suksa VI students at Tessaban 2 Wat Orm-Yai School in Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงเดือน พินสุวรรณ์
ชลนิกาญจน์ ปัตถามัง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--นครปฐม
วิทยาศาสตร์--การสอนด้วยสื่อ
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--วิทยาศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับของนักเรียนที่เรียนแบบ ปกติ และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ของนักเรียนดังกล่าว ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 50 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วจับฉลากเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 25 คน โดยกลุ่มทดลองเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD กลุ่มควบคุมเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องสารและสมบัติของสาร จำนวน 8 แผน และแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติ ของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม ที่เรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าของนักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 และ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ของ นักเรียนดังกล่าว ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประถมศึกษา วิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3994
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_143408.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons