กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/402
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความยินยอมที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้ป่วยในการรักษาพยาบาล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problem on the implementation of the law on consent in relation to patients' rights to medical treatment |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล จันทร์เพ็ญ กุย, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิมาน กฤตพลวิมาน |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ สิทธิผู้ป่วย การบังคับใช้กฎหมาย |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วิทยานิพนธ์ เรื่องปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความยินยอมที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิผู้ป่วยในการรักษาพยาบาลมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรค ของการบังคับใช้กฎหมายตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วยและพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 รวมทั้งสิทธิของผู้ป่วยตามกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและความยินยอมในการรักษาพยาบาล (2) เพื่อให้มีการบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายคำประกาศสิทธิผู้ป่วยและสิทธิของผู้ป่วยตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 รวมทั้งสิทธิของผู้ป่วยตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับความยินยอมในการรักษาพยาบาลเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยเข้าถึงสิทธิได้อย่างเต็มที่ (3) เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมาย และเป็นแนวทางให้บุคลากรด้านสาธารณสุขหรือผู้ให้บริการทางการแพทย์ปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือ ผู้รับบริการให้เข้าถึงสิทธิตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วยและสิทธิของผู้ป่วยตาม พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 รวมทั้งสิทธิของผู้ป่วยตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (4) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ป่วย วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยทางเอกสารโดยรวบรวมข้อมูล จากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เอกสาร หนังสือ ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ วิจัย คำพิพากษาศาลฎีกา ผลการศึกษาพบว่า แม้ความยินยอมที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้ป่วยในการรักษาพยาบาล จะมิได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับความยินยอมในการรักษาพยาบาลไว้ในกฎหมายใดโดยเฉพาะก็ตาม แต่ตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วย กฎหมายวิชาชีพ และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติกฎหมายกำหนดให้ผู้ป่วย ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการบริการด้านสุขภาพ และการให้ความยินยอมในการรักษาพยาบาล ผู้ให้บริการหรือแพทย์ต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอและเข้าใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตน เพื่อที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับ หรือปฏิเสธไม่รับบริการใด ทำให้ผู้ให้บริการหรือแพทย์มีหน้าที่ต่อผู้ป่วยที่จะต้องรักษาพยาบาล โดยได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย หรือโดยมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยที่มีความสามารถตามกฎหมาย จึงมีสิทธิที่จะตัดสินใจที่จะยินยอมให้แพทย์ปฏิบัติต่อร่างกายของตน และแพทย์ก็ต้องมีหน้าที่ที่จะต้องเคารพสิทธินั้น หากผู้ให้บริการหรือแพทย์ล่วงละเมิดสิทธิหรือกระทำผิดต่อหน้าที่ อาจถูกฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและทางอาญา ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน หรือภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย หรือกรณีอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ให้บริการหรือแพทย์อาจรักษาผู้ป่วยโดยไม่ได้รับความยินยอมได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/402 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib149677.pdf | 20.32 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License