กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/406
ชื่อเรื่อง: บทบาทคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The role of The National Anti-Corruption Commission and its impact on Thai politics
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมปฤณ นิยมไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรวลัญช์ โรจนพล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมบัติ จันดารักษ์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง -- ไทย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2) ศิกษาผลกระทบของบทบาทของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต่อการเมืองไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2555 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และ สัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มตัวอย่าง คือ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ประกอบด้วยสาขารัฐศาสตร์ จำนวน 2 คน สาขานิติศาสตร์ จำนวน 2 คน ผู้แทนองค์กรเอกชนจำนวน 1 คน ผู้แทนกลุ่มอาสาสมัคร จำนวน 1 คน และผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิชัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจาะสึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนี้อหาและนำเสนอผลการวิเคราะห์โดยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน และการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ การดำเนินบทบาทของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังมีปัญหาในเรื่องข้อกฎหมาย การเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และขาดการบูรณาการความร่วมมืออย่างเป็นระบบระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และการมี ส่วนร่วมของภาคประชาชน รวมตั้งได้ส่งผลกระทบทางการเมืองต่อความเชี่อมั่น ประสิทธิภาพ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. การส่งเสริมการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีของหน่วยงานภาครัฐ การ แก้ไขปัญหาทุจริตที่เกิดจากสถาบันทางการเมืองหรือบุคลากรทางการเมือง การสร้างมาตรฐาน คุณธรรมจริยธรรมให้แก่สถาบันทางการเมืองและบุคลากรทางการเมือง และเสถียรภาพของสถาบัน ทางการเมือง รวมทั้งช่วยลดปัญหาความขัดแยังทางการเมือง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/406
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
138818.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons