กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4111
ชื่อเรื่อง: | บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระศิลปะ รายวิชานาฎศิลป์ เรื่องเพลงฟ้อนเงี้ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดสุนทรธรรมิการาม จังหวัดนนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Computer-assisted instruction program in the arts learning area on the Dramatic art course topic of Ngiaw Dance Song for Prathom Suksa V students of Tessaban Plaibang Wat Sunthon Thammikaram School in Nonthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ ศุภลักษณ์ พึ่งเพาะปลูก, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ศิลปะ--คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา นาฏศิลป์--การสอนด้วยสื่อ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระศิลปะ รายวิชานาฏศิลป์ เรื่องเพลงฟ้อนเงี้ยว สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ปลายบางวัดสุนทรธรรมิการาม จังหวัดนนทบุรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กําหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระศิลปะรายวิชานาฏศิลป์ เรื่องเพลงฟ้อนเงี้ยว สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระศิลปะ รายวิชานาฏศิลป์ เรื่อง เพลงฟ้อนเงี้ยว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน เทศบาลปลายบางวัดสุนทรธรรมิการาม จังหวัดนนทบุรี ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จํานวน 57 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชานาฏศิลป์ เรื่องเพลงฟ้อนเงี้ยว (2) แบบทดสอบก่อนและแบบทดสอบ หลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประสิทธิภาพ 82.00/ 80.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนด 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมี ความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4111 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_151913.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License