กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4136
ชื่อเรื่อง: ปัญหาเขตอำนาจศาลกรณีการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฏหมายที่ดินซึ่งมีปัญหาเกี่ยวพันกับสิทธิในที่ดิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The conflict of jurisdiction in case of request to revoke officer's administrative order following section 61 of the land code, under Issue relating to land's right
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพโรจน์ ทองปาน, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การฟ้อง
ที่ดิน--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหาเขตอานาจศาล กรณีการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวพันกับสิทธิในที่ดินมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในระบบศาลคู่ (2) เพื่อวิเคราะห์เขตอำนาจศาลกรณีการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่มีประเด็นเกี่ยวพันกับสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นประเด็นที่จำเป็นต้องวินิจฉัยก่อนจึงจะวินิจฉัยประเด็นหลักแห่งคดีได้อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม (3) เพื่อศึกษาข้อกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศต้นแบบในระบบศาลคู่ และเป็นประเทศที่มีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองคล้ายคลึงกับประเทศไทยเกี่ยวกับศาลที่มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นที่ต้องวินิจฉัยก่อนซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลอื่น และ (4) เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาเรื่องศาลที่มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นที่จำเป็นต้องวินิจฉัยก่อนจึงจะวินิจฉัยประเด็นหลักแห่งคดีได้อยู่ในอำนาจศาลอื่น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารโดยการศึกษาค้นคว้าจากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ รวมทั้งคำสั่งศาลปกครองสูงสุด คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาเกิดจากยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายระดับพระราชบัญญัติกำหนดวิธีพิจารณาเกี่ยวกับคดีที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก่อนที่อยู่ในเขตอำนาจศาลอื่น หากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยนำข้อความที่เป็นประเด็นปัญหาที่กำหนดในข้อ 41 วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ไปบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวก็จะทำให้ศาลปกครองซึ่งรับคำฟ้องประเด็นหลักไว้มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นที่จำเป็นต้องวินิจฉัยก่อนซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลอื่นได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4136
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons