Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4155
Title: | ปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการครู |
Other Titles: | Problem in appealing the discipline punishment orders of government official teachers |
Authors: | ภัฎฐิญา สิริบวรพิพัฒน์ มงคล รุ่งสว่าง, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ครู--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาในสามประเด็นสำคัญ คือ ประการแรก ศึกษาหลักกฎหมายและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ของข้าราชการครู ประการที่สอง ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์ตามหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ และประการสุดท้าย เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาอันจะเป็นหลักประกันให้ข้าราชการครูได้รับความเป็นธรรมและเหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีระเบียบวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องวินัยและการอุทธรณ์ของข้าราชการครู เช่น พระราชบัญญัติ กฎ ก.ค.ศ. ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ หนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าในปัจจุบันข้าราชการครูยังไม่ได้รับหลักประกันในความมั่นคงและความเป็นธรรมอย่างเพียงพอ ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าสรุปพบปัญหาที่สำคัญ 3 ประการ ประการแรกปัญหาที่เกิดจากตัวบทกฎหมาย เช่นการไม่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนหรือมอบหมายให้ผู้อื่นยื่นอุทธรณ์แทน ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมแก่ข้าราชการครูที่ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัย เป็นต้น ประการที่สองปัญหาที่เกิดจากผู้อุทธรณ์ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์ และประการที่สามปัญหาที่เกิดจากองค์กรผู้พิจารณาอุทธรณ์ที่จะต้องไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาวินิจฉัยจะต้องมีความเป็นกลาง วินิจฉัยโดยความเที่ยงธรรม ซึ่งต้องไม่ขัดกับความยุติธรรมตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงเห็นว่า ควรแก้ไข กฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เกิดความสอดคล้องกับความยุติธรรมตามธรรมชาติอันจะเป็นผลดีสืบไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4155 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License