Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4167
Title: การนำเหตุในลักษณะคดีอาญามาบังคับใช้กับคู่กรณีซึ่งมิได้เป็นคู่กรณีในคดีปกครอง
Other Titles: Using the circumstances relation to the nature of the offence in criminal case to enforce in administrative case
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
มยุรี มังคลาด, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิธีพิจารณาคดีปกครอง
ความผิดทางอาญา
วิธีพิจารณาความอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการนำเหตุในลักษณะคดีอาญามาบังคับใช้กับคู่กรณีซึ่งมิได้เป็นคู่กรณีในคดีปกครอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุในลักษณะคดีอาญาของไทย และต่างประเทศ แนวคิด การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีปกครอง ทฤษฎีความรับผิดทางละเมิด และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในลักษณะคดีอาญา รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาการพิจารณาการกระทำทางอาญา และการกระทำทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาจากการนำเหตุในลักษณะคดีอาญามาบังคับใช้กับคู่กรณี ซึ่งมิได้เป็นคู่กรณีในคดีปกครอง การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งจะค้นคว้าข้อมูลทั้งปฐมภูมิ ทุติยภูมิ จากตำราเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยและข้อมูลจากเว็บไซต์ ตลอดจนทำการศึกษาจากตัวบทและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 70 ผลการศึกษา พบว่า แนวคิดสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นหนึ่งในสามที่ต้องรับผิด ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งทางปกครองที่เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และศาลปกครองพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีกระทำผิดเพียงขั้นประมาทเลินเล่อเท่านั้น จึงมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ฟ้องคดีเป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มีปัญหาในเรื่องความเป็นธรรมจากผลของคำพิพากษา ซึ่งแตกต่างจากคดีอาญา คือ เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดีเดียวกันผู้กระทำผิดจะได้รับผลจากการกระทำผิดนั้นด้วยกันทุกคน แต่ผู้ต้องรับผิดที่เหลือซึ่งมิได้ฟ้องคดียังต้องรับผิดจากพฤติการณ์ในเหตุเดียวกันตามคำสั่ง โดยไม่เป็นธรรม เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกสองคนที่ได้รับคำสั่ง ไม่ได้ฟ้องคดี ก็จะไม่ได้รับประโยชน์จากคำพิพากษาศาลปกครอง ทั้งที่ความรับผิด เกิดจากมูลเหตุในลักษณะคดีเดียวกัน การพิจารณาจึงควรเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้น เห็นควรแก้ไขอำนาจของศาลปกครองในการสั่งให้คำพิพากษามีผลผูกพันบุคคลภายนอก คือ “ในคดีซึ่งผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ซึ่งเรียกให้ผู้อยู่ภายใต้บังคับคำสั่งทางปกครองหลายคนในความผิดที่ได้กระทำร่วมกัน และเป็นความผิดในเรื่องเดียวกัน โดยมีพฤติการณ์แห่งการกระทำอย่างเดียวกัน ถ้าศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งทางปกครองทั้งหมดหรือบางส่วน แม้ผู้อยู่ภายใต้บังคับทางปกครองคนอื่นจะไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องคดี หากพฤติการณ์ของผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องคดีเป็นเหตุในลักษณะคดีอันเป็นเหตุเดียวกับกรณีของผู้ฟ้องคดีแล้ว ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวมีผลผูกพันผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องคดีในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้ฟ้องคดีด้วย”
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4167
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons