Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/416
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีนวล สถิตวิทยานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorกรรณิการ์ สุวรรณโคต, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวัชรวัณณ์ เจริญโชคกิตติ, 2511--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-10T07:41:11Z-
dc.date.available2022-08-10T07:41:11Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/416-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ one group pretest – posttest design มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดก่อนและหลังการทดลอง (3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด โดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Gibson (1995) กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 หรือ 2 รับการรักษาที่ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 10 คน รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจประกอบด้วย 1) การค้นพบสถานการณ์จริง 2) การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติและลงมือปฏิบัติ 4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ใช้ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินคุณภาพชีวิต 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความผาสุกด้านร่างกาย 2) ความผาสุกด้านครอบครัวและสังคม 3) ความผาสุกด้านอารมณ์/จิตใจ 4) ความผาสุกด้านการปฏิบัติกิจกรรมซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปทดลองใช้กับผู้ป่วย จำนวน 15 คน พบว่ามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed–Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมหลังเข้ารับการเสริมสร้างพลังอำนาจ ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งการ เสริมสร้างพลังอำนาจทำให้ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้านดีขึ้น ได้แก่ 1) ความผาสุกด้านร่างกาย 2) ความผาสุกด้านครอบครัวและสังคม 3) ความผาสุกด้านอารมณ์/จิตใจ 4) ความผาสุกด้านการปฏิบัติกิจกรรม แต่พบว่าคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับความผาสุกด้านร่างกาย หลังทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจไม่แตกต่างกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพียงด้านเดียว ทั้งนี้จึงสรุปได้ว่ารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจมีผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดดีขึ้น จึงควรนำรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจไปใช้กับผู้ป่วยประเภทอื่นๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.91-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมะเร็ง--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectมะเร็งเต้านมth_TH
dc.subjectมะเร็ง--เคมีบำบัดth_TH
dc.titleผลของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดth_TH
dc.title.alternativeThe effect of empowerment model on quality of life in breast Cancer Patients receiving Chemotherapyth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2015.91-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis is a Quai-experimental research with one group pretest – posttest design. The objectives were: (1) to study quality of life of breast cancer patients with chemotherapy, (2) to compare quality of life of breast cancer patients with chemotherapy, and (3) to explore the effects of the model according to Gibson (1995) The sample included 10 breast cancer patients in stage 1 and 2 who received treatment at Cancer Center, Bhumibol Adulyadej Hospital. These subjects were purposively selected. A nursing empower model comprised 1) real situation detection, 2) reflection of critical thinking, 3) decision to choose methods for practice, and 4) maintaining quality of function. The duration of research was 16 weeks. A research tool comprised: general data and evaluation of quality of life which included: 1) physical well-being, 2) family and social well-being, 3) emotional and mental well-being, and 4) functional well-being, and the tool was verified by experts. Fifteen subjects were experimented and the reliability was 1.00. The data were analyzed by descriptive statistics (means and standard deviation) and Wilcoxon match pair sign rank test and Mann Whitney U Test. The results were as follows. Mean scores of quality of life after applying the model was significantly higher than before (p< .05). The nursing empower model helped patients to have high quality of life in 4 aspects: 1) physical well-being, 2) family and social well-being, 3) emotional and mental well-being, and 4) functional well-being. However, there was no significant difference of quality of life before and after applying the model (p< 0.05) in only one aspect. It can be concluded that this model increases quality of life of breast cancer patients with chemotherapyen_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext 150599.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons