กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/416
ชื่อเรื่อง: ผลของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of empowerment model on quality of life in breast Cancer Patients receiving Chemotherapy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรรณิการ์ สุวรรณโคต, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชรวัณณ์ เจริญโชคกิตติ, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มะเร็ง--ผู้ป่วย
มะเร็งเต้านม
มะเร็ง--เคมีบำบัด
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ one group pretest – posttest design มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดก่อนและหลังการทดลอง (3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด โดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Gibson (1995) กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 หรือ 2 รับการรักษาที่ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 10 คน รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจประกอบด้วย 1) การค้นพบสถานการณ์จริง 2) การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติและลงมือปฏิบัติ 4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ใช้ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินคุณภาพชีวิต 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความผาสุกด้านร่างกาย 2) ความผาสุกด้านครอบครัวและสังคม 3) ความผาสุกด้านอารมณ์/จิตใจ 4) ความผาสุกด้านการปฏิบัติกิจกรรมซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปทดลองใช้กับผู้ป่วย จำนวน 15 คน พบว่ามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed–Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมหลังเข้ารับการเสริมสร้างพลังอำนาจ ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งการ เสริมสร้างพลังอำนาจทำให้ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้านดีขึ้น ได้แก่ 1) ความผาสุกด้านร่างกาย 2) ความผาสุกด้านครอบครัวและสังคม 3) ความผาสุกด้านอารมณ์/จิตใจ 4) ความผาสุกด้านการปฏิบัติกิจกรรม แต่พบว่าคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับความผาสุกด้านร่างกาย หลังทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจไม่แตกต่างกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพียงด้านเดียว ทั้งนี้จึงสรุปได้ว่ารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจมีผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดดีขึ้น จึงควรนำรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจไปใช้กับผู้ป่วยประเภทอื่นๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/416
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext 150599.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons