กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4181
ชื่อเรื่อง: ปัญหาพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 : ศึกษาเฉพาะกรณีการเรียกคนเข้ากองประจำการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The problem of Military Service Act B.E. 2497 : a case study on conscription of individual for active duty
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยรรภพ ตนดี, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเกณฑ์ทหาร
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัญหาพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 ที่มีมาตรการเกณฑ์ทหารโดยวิธีบังคับ ซึ่งนับว่าไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคมและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เปลี่ยนไปใช้การเกณฑ์ทหารด้วยวิธีสมัครใจแล้ว 2. เสนอมาตรการทางกฎหมายให้ยกเลิกการเกณฑ์ทหารโดยวิธีบังคับแล้วไปใช้ด้วยวิธีสมัครใจ อย่างเป็นระบบแบบไม่จำกัดเวลา เพื่อรักษาไว้ซึ่งศักยภาพของกองทัพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยทางเอกสารโดยศึกษาพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 กฎหมายเกณฑ์ทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายเกณฑ์ทหารของประเทศสิงคโปร์ หนังสือ บทความ เอกสารวิจัย วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาศาล และข้อมูลจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง นำมาเรียบเรียงศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า 1. การเกณฑ์ทหารไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีบังคับหรือด้วยวิธีสมัครใจขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ มิได้มีเหตุปัจจัยมาจากระบบกฎหมายแต่อย่างใด 2. ผู้ศึกษาจึงเสนอให้ประเทศไทยยกเลิกระบบการเกณฑ์ทหารจากวิธีบังคับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นวิธีสมัครใจ โดยการปรับลดขนาดโครงสร้างกองทัพให้เล็กลง แต่ยังคงศักยภาพและประสิทธิภาพไว้ แล้วนำงบประมาณส่วนนี้ไปเพิ่มเป็นอัตราเงินเดือนและสวัสดิการของทหารให้มากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับคนที่จะสมัครใจเข้ารับราชการทหาร ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายเกณฑ์ทหารของไทย มีพลวัตทันกับความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4181
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม65.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons