Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4188
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กมลชัย รัตนสกาววงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | รัฐพงษ์ ศรีเลอจันทร์, 2521- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-03-14T03:47:45Z | - |
dc.date.available | 2023-03-14T03:47:45Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4188 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “การดักฟังทางโทรศัพท์ในคดียาเสพติด: กรณีศึกษากองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดักฟังโทรศัพท์ในคดียาเสพติด (2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการดักฟังทางโทรศัพท์ของประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการดักฟังโทรศัพท์ในคดียาเสพติด และ (4) เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดักฟังโทรศัพท์ในคดียาเสพติด การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากการรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และตัวบทกฎหมายทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า แม้การดักฟังโทรศัพท์จะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ และข้อจำกัดในด้านอื่น ๆ แต่หากมีการนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานด้านการสืบสวนจับกุมคดียาเสพติด ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว การดักฟังทางโทรศัพท์จะมีการขออนุญาตโดยถูกต้องตามกฎหมายน้อยมากจนแทบจะไม่มีการนำมาตรการการดักฟังมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้ต้องหา หากเปรียบเทียบกับสถิติการจับกุมคดียาเสพติด เนื่องด้วยเหตุต่าง ๆ ดังนี้ (1) ความยุ่งยากในการขออนุญาต ตลอดจนขั้นตอนการรายงานผลการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารให้ผู้บังคับบัญชา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาทราบ (2) การปฏิบัติงานดักฟังของเจ้าหน้าที่มีความเสี่ยงเนื่องด้วยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองเจ้าหน้าที่ผู้ดักฟังอย่างเพียงพอ หากมีมูลเหตุว่าผู้ถูกดักฟังไม่ได้เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด อาจเกิดการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิขึ้นมาได้ และ (3) ยังไม่มีกฎหมายกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน กรณีการนำข้อมูลที่ได้จากการดักฟังในคดียาเสพติดมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอื่น ๆ ได้ จึงอาจมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านกฎหมายดังกล่าวอันประกอบด้วยข้อเสนอแนะหลายประการ เช่น (1) ควรมีหลักกฎหมายกลางเกี่ยวกับการดักฟัง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องการมีอำนาจในการดักฟัง ต้องออกกฎหมายรองรับให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายหลักในเรื่องการดักฟังดังกล่าว (2) ควรเสนอให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการดักฟัง โดยมีการตรากฎหมายเป็นพระราชบัญญัติกำหนดให้ใช้กฎหมายการดักฟังกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาตามฐานหรืออัตราโทษที่กำหนดได้ รวมทั้งควรกำหนดขอบเขตให้ข้อมูลที่ได้จากการดักฟัง สามารถนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาอื่น ๆ ได้ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด | th_TH |
dc.subject | ยาเสพติด--คดีและการสู้คดี | th_TH |
dc.subject | โทรศัพท์ | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน | th_TH |
dc.title | การดักฟังทางโทรศัพท์ในคดียาเสพติด: กรณีศึกษากองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด | th_TH |
dc.title.alternative | Wiretapping in Narcotic cases : a case study of Narcotic Suppression Bureau | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this independent study titled “Wiretapping in Narcotics Cases: A Case Study of Narcotics Suppression Bereau” are to (1) determine the principles of law relating to wiretapping in narcotics cases, (2) make a comparative analysis of wiretapping in Thailand and other countries (3) analyze the legal problems in wiretapping process in narcotics cases, and (4) to determine legal solutions about the wiretapping in narcotics cases. This study is a qualitative and documentary research by collecting all documents pertaining to this research topic not only textbooks, academic research, and dissertation but also laws both in Thai and foreign languages. The data is to analyze in a systematic manner. The results from the study reveal that even the wiretapping restrictions on the rights to freedom of the people on the other side. But if it is implemented effectively, it will bring benefits in performance and investigative arrests for drug offenses. In practice, legal wiretapping allowed very little so they will not rather be used as evidence in the prosecution of the accused compared to the arrest record for drug offenses. The reasons are the following: (1) the difficulty in obtaining permits and the process of reporting and access to information to supervisors, Secretary General to the Narcotics Control Board, and Chief Judge of the Criminal Courts, (2) inadequacy of legal protection to competent authorities, (3) lack of law in details regarding the using of data obtained in narcotics cases as evidence in other cases. The recommendation to solve the problems are as follows. (1) There should be a general law on wiretapping. Any agency would like to have the power to use this measure must issue legislation that is consistent with the law in regard to such process. (2) There should be the law to empower the authorities to use wiretapping measure with the determined offenses under the Criminal Code and offenses under specific Acts as well as the procedure to use the obtained data as evidence in other relevant criminal cases. | en_US |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License