กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4188
ชื่อเรื่อง: | การดักฟังทางโทรศัพท์ในคดียาเสพติด: กรณีศึกษากองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Wiretapping in Narcotic cases : a case study of Narcotic Suppression Bureau |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กมลชัย รัตนสกาววงศ์ รัฐพงษ์ ศรีเลอจันทร์, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ยาเสพติด--คดีและการสู้คดี โทรศัพท์ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “การดักฟังทางโทรศัพท์ในคดียาเสพติด: กรณีศึกษากองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดักฟังโทรศัพท์ในคดียาเสพติด (2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการดักฟังทางโทรศัพท์ของประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการดักฟังโทรศัพท์ในคดียาเสพติด และ (4) เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดักฟังโทรศัพท์ในคดียาเสพติด การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากการรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และตัวบทกฎหมายทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า แม้การดักฟังโทรศัพท์จะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ และข้อจำกัดในด้านอื่น ๆ แต่หากมีการนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานด้านการสืบสวนจับกุมคดียาเสพติด ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว การดักฟังทางโทรศัพท์จะมีการขออนุญาตโดยถูกต้องตามกฎหมายน้อยมากจนแทบจะไม่มีการนำมาตรการการดักฟังมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้ต้องหา หากเปรียบเทียบกับสถิติการจับกุมคดียาเสพติด เนื่องด้วยเหตุต่าง ๆ ดังนี้ (1) ความยุ่งยากในการขออนุญาต ตลอดจนขั้นตอนการรายงานผลการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารให้ผู้บังคับบัญชา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาทราบ (2) การปฏิบัติงานดักฟังของเจ้าหน้าที่มีความเสี่ยงเนื่องด้วยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองเจ้าหน้าที่ผู้ดักฟังอย่างเพียงพอ หากมีมูลเหตุว่าผู้ถูกดักฟังไม่ได้เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด อาจเกิดการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิขึ้นมาได้ และ (3) ยังไม่มีกฎหมายกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน กรณีการนำข้อมูลที่ได้จากการดักฟังในคดียาเสพติดมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอื่น ๆ ได้ จึงอาจมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านกฎหมายดังกล่าวอันประกอบด้วยข้อเสนอแนะหลายประการ เช่น (1) ควรมีหลักกฎหมายกลางเกี่ยวกับการดักฟัง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องการมีอำนาจในการดักฟัง ต้องออกกฎหมายรองรับให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายหลักในเรื่องการดักฟังดังกล่าว (2) ควรเสนอให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการดักฟัง โดยมีการตรากฎหมายเป็นพระราชบัญญัติกำหนดให้ใช้กฎหมายการดักฟังกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาตามฐานหรืออัตราโทษที่กำหนดได้ รวมทั้งควรกำหนดขอบเขตให้ข้อมูลที่ได้จากการดักฟัง สามารถนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาอื่น ๆ ได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4188 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License