กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4199
ชื่อเรื่อง: ความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปใช้ในการบริหารงานเทศบาล : กรณีศึกษาเทศบาลจังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Success of good governance principles implementation in municipality administration : a case study of Phuket Municipalities
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุมพล หนิมพานิช
เนาวรัตน์ พุ่มจันทร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
เทศบาลจังหวัดภูเก็ต--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปใช้ในการบริหารงานเทศบาลในจังหวัดภูเก็ต 2 ) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีใปใชัในการบริหารงานเทศบาล และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปใช้ในการบริหารงานเทศบาลให้เกิดผลสำเร็จ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ จำนวน 257 คนและประชาชนผู้รับบริการ จำนวน 400 คน จากประชากรที่เป็นเจัาหน้าที่ผู้ให้บริการ 679 คน และประชากรที่เป็นประชาชนผู้รับบริการ 126,892 คน ใดยใช้วิธีของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใชัในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ รัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความสำเร็จในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาใชัในการบริหารงานเทศบาลในจังหวัดภูเก็ตประชาชนผู้ใช้บริการเห็นว่ามีความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่เจัาหน้าที่ผู้ให้บริการเห็นว่าสามารถนำหลักการดังกล่าวเข้ามาใช้และประสบผลสำเร็จอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ระดับความสำเร็จในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้แต่ละเทศบาลมีความแตกต่างกัน (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสำเร็จในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานเทศบาล คือ กลยุทธ์โครงสรัาง ระบบการดำเนินงาน รูปแบบการบริหาร ทักษะของบุคลากร และการจัดการด้านบุคลากรส่วนค่านิยมร่วมของเทศบาลเป็นปัจจัยเชิงลบต่อระดับความสำเร็จในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาใชัในการบริหารงานเทศบาลข้อเสนอแนะในการวิจัยได้แก่ เทศบาลควรเน้นกลยุทธ์การดำเนินงานเชิงรุก เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน เพิ่มช่องทางรับฟังความคิดเห็น และลดขั้นตอนการดำเนินงาน ควรปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความทันสมัย สอดคลัองกับชุมชน เพื่มช่องทางและวิธีกระจายข้อมูลด้านกฎระเบียบ เพื่มทักษะพนักงานและถูกจ้างด้วยการการจัดอบรมความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน สรัางจิตสำนึกการให้บริการ และสรัางมาตรฐานระบบการประเมินผลการปฎิบัติงาน ดำเนินการตามพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 อย่างจริงจังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลดขั้นตอนการปฎิบัติงาน นอกจากนี้ควรมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการดำเนินงานของเทศบาลให้มากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4199
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
105681.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons