Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/420
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมโภช รติโอฬารth_TH
dc.contributor.authorดลิชา ชั่งสิริพร, 2516-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-10T08:02:02Z-
dc.date.available2022-08-10T08:02:02Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/420-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545th_TH
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบในการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทย (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการจัดบริการ (3) ลักษณะและความต้องการของผู้รับบริการ และ (4) ปัญหา อุปสรรคในการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ ประชากรประกอบด้วย (1) ผู้ให้บริการ คือ เจ้าหน้าที่ทางด้านการแพทย์แผนไทยทุกคนของโรงพยาบาลชุมชน 8 แห่งในจังหวัดศรีสะเกษ และ (2) ผู้รับบริการ คือ ผู้ที่มารับบริการด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลทั้ง 8 แห่ง จำนวน 375 คน ได้รับการสุ่มเลือกมาเป็นตัวอย่างโดยใช้ตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน แล้วแบ่งตามสัดส่วนผู้รับบริการของแต่ละโรงพยาบาล เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน แบบสังเกตและสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงาน และแบบสอบถามผู้รับบริการ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย การทดสอบไค - สแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) การจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันมี 3 รูปแบบ (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบในการจัดบริการ ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ ภูมิลำเนา ระดับการศึกษา ตำแหน่งตามสายงาน และความรู้ความสามารถด้านแพทย์แผนไทย ด้านผู้รับบริการ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส การเดินทาง วัตถุประสงค์ในการมารับบริการ รายได้ และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ ส่วนปัจจัยแวดล้อมไม่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการจัดบริการ (3) ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี สถานภาพสมรส ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้ / เดือน 0 - 2,000 บาท อาการที่พบส่วนใหญ่ ดือ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผู้รับบริการต้องการให้เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์แผนไทย และให้มีบริการนวดแผนไทยเพิ่มขึ้น (4) ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน ดือ ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถด้านการแพทย์แผนไทย ขาดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน ตลอดจนขาดเครึ่องมือและอุปกรณ์ที่เพิ่มคุณภาพของการให้บริการth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโรงพยาบาลชุมชนth_TH
dc.subjectการแพทย์แผนโบราณ--ไทยth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this descriptive survey research were to study (1) models of Thai Traditional Medicine services (2) factors relating to models of Thai Traditional Medicine services (3) characters and needs of customers (4) the problems and obstacles of Thai Traditional Medicine services in the community hospitals in Srisaket Province. The studied population consisted of (1) all providers who were the Thai Traditional Medicine personnel of the 8 community hospitals in Srisaket Province and (2) the customers of Thai Traditional Medicine services in these hospitals. A total of 375 customers were stratified randomized selected according to proportion of them in each hospital by using the Krejcie and Morgan’s table. The data collection was conducted by using a background information questionnaire, an observation form and an interview form for the providers and a customer questionnaire with the reliability level at 0.93. The percentage, standard deviation, mean, Chi-square and Content Analysis were used in statistical analysis. The research findings were (1) there were 3 models of Thai Traditional Medicine services in the community hospitals in Srisaket Province. (2) the factors related to all models in term of provider factors including domicile, education level, position and competency in Thai Traditional Medicine, and customer factors including age, marital status, travelling, objective of obtaining service, income and satisfaction to service. There was no relationship between environmental factors and models; (3) most of customers were women, aged between 31-40, married, farmer, income between 0-2,000 baht/month and most of symptoms were muscle pain . They need more staff of Thai Traditional Medicine and more massage-service. (4) The problems and obstacles of the services were scarcity of well-trained staff in Thai Traditional Medicine, lack of management budget and as well as instruments for improving quality of the serviceen_US
dc.contributor.coadvisorคนองยุทธ กาญจนกูลth_TH
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
77207.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons