กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/420
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมโภช รติโอฬาร ดลิชา ชั่งสิริพร, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา คนองยุทธ กาญจนกูล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลชุมชน การแพทย์แผนโบราณ--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบในการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทย (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการจัดบริการ (3) ลักษณะและความต้องการของผู้รับบริการ และ (4) ปัญหา อุปสรรคในการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ ประชากรประกอบด้วย (1) ผู้ให้บริการ คือ เจ้าหน้าที่ทางด้านการแพทย์แผนไทยทุกคนของโรงพยาบาลชุมชน 8 แห่งในจังหวัดศรีสะเกษ และ (2) ผู้รับบริการ คือ ผู้ที่มารับบริการด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลทั้ง 8 แห่ง จำนวน 375 คน ได้รับการสุ่มเลือกมาเป็นตัวอย่างโดยใช้ตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน แล้วแบ่งตามสัดส่วนผู้รับบริการของแต่ละโรงพยาบาล เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน แบบสังเกตและสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงาน และแบบสอบถามผู้รับบริการ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย การทดสอบไค - สแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) การจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันมี 3 รูปแบบ (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบในการจัดบริการ ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ ภูมิลำเนา ระดับการศึกษา ตำแหน่งตามสายงาน และความรู้ความสามารถด้านแพทย์แผนไทย ด้านผู้รับบริการ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส การเดินทาง วัตถุประสงค์ในการมารับบริการ รายได้ และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ ส่วนปัจจัยแวดล้อมไม่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการจัดบริการ (3) ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี สถานภาพสมรส ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้ / เดือน 0 - 2,000 บาท อาการที่พบส่วนใหญ่ ดือ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผู้รับบริการต้องการให้เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์แผนไทย และให้มีบริการนวดแผนไทยเพิ่มขึ้น (4) ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน ดือ ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถด้านการแพทย์แผนไทย ขาดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน ตลอดจนขาดเครึ่องมือและอุปกรณ์ที่เพิ่มคุณภาพของการให้บริการ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/420 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License