กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4234
ชื่อเรื่อง: เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The patronage network in Kuanpung Sub-district Administrative Organization Ron Pibun District, Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิศาล มุกดารัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนกร แก้วชนะ, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การบริหารส่วนตำบลควนพัง
ระบบอุปถัมภ์
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะ และกิจกรรมทางการเมืองของเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ในองค์การบริหารส่วนตาบลควนพัง (2) ผลกระทบด้านบวก และ ผลกระทบ ด้านลบของเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลควนพัง (3) แนวทางการป้องกันและการแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านลบของเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ในองค์บริหารส่วนตำบลควนพัง ผลการวิจัยพบว่า (1) เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลควนพัง มีระบบเครือญาติ ระบบพรรคพวกเพื่อนฝูง ระบบหัวคะแนน นักการเมืองท้องถิ่นระดับจังหวัด นักธุรกิจท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) โดยได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองด้วยการลงคะแนนเสียง ช่วยหาเสียง ซื้อเสียง ใช้อำนาจ บารมี อิทธิพล เงินช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้ง (2) ผลกระทบด้านบวกเป็นการแสดงความมีน้ำใจของเครือญาติพรรคพวกเพื่อนฝูง และการใช้ระบบอุปถัมภ์ควบคู่กับระบบคุณธรรม ผลกระทบด้านลบ ทาให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยไม่พัฒนา มีการซื้อเสียง ทุจริต คอรัปชัน ได้คณะผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีความรู้ ความสามารถ วิสัยทัศน์ การบริหารท้องถิ่นไม่มีประสิทธิภาพ มีการตอบแทนทางการเมือง และแสวงหาผลประโยชน์ในท้องถิ่น (3) แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านลบของเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ การป้องกัน กรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่นต้องมีการป้องกันการซื้อเสียง บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เคร่งครัด รณรงค์ให้ประชาชนต่อต้านการซื้อเสียงและรู้ถึงผลเสียของการซื้อเสียง การแก้ไขปัญหา คือ นักการเมืองท้องถิ่นต้องมีอุดมการณ์ทางานเพื่อส่วนรวมไม่ซื้อเสียง ประชาชนต้องไม่ขายเสียง เลือกตัวแทนโดยใช้เหตุผล อุปถัมภ์เลือกคนดี มีความรู้ ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ กระทรวงศึกษาธิการควรบรรจุเรื่องระบอบประชาธิปไตยลงในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ภาครัฐ พรรคการเมือง ควรให้ความรู้ ส่งเสริมการเมืองภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็ง พัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงอย่างยั่งยืน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4234
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124241.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons