กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4237
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง : กรณีศึกษากลุ่มผู้ด้อยโอกาสอายุ 18-19 ปีในจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the right to vote of voters : a case study of disadvantaged group of the 18-19 years-old in Pathumthani province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
ชลลดา พรหมเดชไพบูลย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
สิทธิของพลเมือง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
การเลือกตั้ง
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง: กรณีศึกษากลุ่ม ผู้ด้อยโอกาส อายุ 18 -19 ปีในจังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิ เลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอายุ 18 - 19 ปี ในจังหวัดปทุมธานี (2) ปัญหา และอุปสรรคที่ มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มผู้ด้อยโอกาส อายุ 18-19 ปี ในจังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่ม ผู้ด้อยโอกาส อายุ 18-19 ปี ในจังหวัดปทุมธานี มีดังนี้ ปัจจัยด้านจิตวิทยา กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อ การไปใช้สิทธิเสียงเลือกตั้งเพราะเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่ดีอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านความรู้ทาง การเมือง กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะทำให้เยาวชนเรียนรู้ระบบการ เลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านการรับข่าวสารทางการเมือง กลุ่มตัวอย่างมี ความคิดเห็นต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะได้รับฟังการประชาสัมพันธ์หาเสียงเลือกตั้งของพรรค การเมืองทางโทรทัศน์ในระดับมากและปัจจัยด้านผลตอบแทน กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการไปใช้ สิทธิเลือกตั้ง เพราะได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองว่าควรไปเลือกพรรคการเมืองที่ผู้ปกครองเลือกอยู่ใน ระดับปานกลาง (2) ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่ม ผู้ด้อยโอกาสอายุ 18 - 19 ปีในจังหวัดปทุมธานี คือ ความไม่สะดวกในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การรับรู้ ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตยและการเลือกตั้งอย่างจำกัด การประชาสัมพันธ์ของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมีน้อยเกินไปและควรมีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของประชาชน ทางการเมืองให้มีความเรียบร้อยก่อนจะทำการเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นต้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4237
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125274.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons