Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/424
Title: | การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรงพยาบาลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี |
Other Titles: | The development of a care management model for patients with myocardial infarction at Cha Am Hospital in Phetchaburi Province |
Authors: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา พิเชฐ บัญญัติ, อาจารย์ที่ปรึกษา ปราณี มหาบุญปีติ, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน--การดูแล กล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อหัวใจ--โรค |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการณ์จัดการดูแล ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรงพยาบาลชะอำ (2) สร้างรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และ (3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่สร้างขึ้น ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง มี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ให้บริการ จำนวน 9 คน สำหรับวิเคราะห์สภาพการณ์จัดการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และ 2) ผู้ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ จำนวน 13 คน ประกอบด้วย ตัวแทนผู้ให้ข้อมูลในกลุ่มแรก ผู้บริหารและกลุ่มผู้ปฏิบัติ และ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เครื่องมือวิจัย มี 2 ชุด ชุดแรก มี 2 ส่วน คือ ประเด็นสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ตามแนวคิดของโดนาบีเดียล และแนวคิดการจัดการรายกรณีของพาวเวลล์ ชุดที่สอง คือแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ผ่านตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาทั้งสองชุดจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเนื้อหาเฉลี่ยเท่ากับ 0.98 และ 0.96 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการณ์การจัดการดูแลผู้ป่ วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ยังมีปัญหาทั้งด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนา และ (2) รูปแบบ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ประกอบด้วย ทรัพยากรบุคคล เครื่องมือ/วัสดุอุปกรณ์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย กระบวนการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 6 ขั้นตอน โดยมีผู้จัดการรายกรณีเป็น ผู้ประสานการจัดการดูแลและติดตามประเมินผล ด้านผลลัพธ์ประกอบด้วย ความพึงพอใจของผู้ ให้บริการ ผู้รับบริการและคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลและหน่วยงาน และ 3) รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่สร้างขึ้น มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้กับโรงพยาบาลชะอำ ร้อยละ 91.14 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/424 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext 150600.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License