Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4265
Title: หลักความเสมอภาคของชายหญิงตามรัฐธรรมนูญ : กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีคู่สมรสตามประมวลรัษฎากร
Other Titles: The equality of men and women under the constitution. : a case study of the personal income tax for spouse under the revenue code
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรเชษฐ์ นรเอี่ยม, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดเก็บภาษี
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องหลักความเสมอภาคของชายหญิงตามรัฐธรรมนูญ : กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีคู่สมรสตามประมวลรัษฎากรมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากฎหมายการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีคู่สมรสตามประมวลรัษฎากร และการรับรองสิทธิตามหลักความเสมอภาคของชายหญิง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ศึกษาถึงแนวทางการปรับปรุงบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากคู่สมรสให้มีความเป็นธรรมและเสมอภาค สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมความสมัครใจในการเสียภาษี การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัย ทางเอกสาร (Documentary research) โดยการศึกษาจากตำรากฎหมาย คำพิพากษา บทความ วิทยานิพนธ์ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และประสบการณ์จากการปฏิบัติราชการกรมสรรพากร เพื่อทำการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา ผลการศึกษาพบว่าการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากกรณีคู่สมรสตามประมวลรัษฎากร ในปีภาษี 2490 เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 57 ตรี ให้การจัดเก็บภาษีกรณีคู่สมรสจะเป็นหน่วยภาษีคู่สมรส โดยเงินได้ของภริยาถือเป็นเงินได้ของสามีกำหนดให้ต้องยื่นแบบรวมกันในนามสามี และปีภาษี 2529 เพิ่มหลักเกณฑ์ตามมาตรา ม.57 เบญจ ภริยามีสิทธิจะแยกยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) โดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีก็ได้ ต่อมาปีภาษี 2555 ได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อการรับรองสิทธิของบุคคลและความเสมอภาคของชายหญิง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยยกเลิกบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา ม.57 เบญจ เนื่องจากขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 และได้มีการแก้ไขกฎหมายการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากกรณีคู่สมรส ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ฉ ได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการยื่นแบบโดยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้เสียภาษีกรณีคู่สมรสมีสิทธิเลือกวิธีการยื่นแบบได้ 5 วิธี ไม่ว่าคู่สมรสยื่นแบบรวมกันทุกประเภทของเงินได้ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลือกแยกยื่นเฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หรือต่างฝ่ายต่างแยกยื่นแบบทุกประเภทของเงินได้ รวมถึงบทบัญญัติมาตรา 57 ฉ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งแยกเงินได้ของคู่สมรส ในกรณีที่เงินได้ไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด ให้ถือเป็นเงินได้มาตรา 40 (2) - (7) ของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง ส่วนเงินได้ตามมาตรา 40 (8) สามีและภริยาจะแบ่งเงินได้เป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้ถือเป็นเงินได้ของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง และเมื่อได้เลือกยื่นรายการตามส่วนที่ตกลงในปีภาษีใดแล้ว ให้ถือว่าเป็นวิธีการยื่นรายการสาหรับปีภาษีนั้นตลอดไป เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงกฎหมายนี้ส่งผลกระทบให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินธุรกรรมทางภาษี ไม่ส่งเสริมความสมัครใจในการเสียภาษี เห็นควรปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4265
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.56 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons