Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4267
Title: เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและสัญญาทางแพ่ง
Other Titles: Judicial authority regarding administrative contracts and commercial contracts
Authors: กมลชัย รัตนสกาววงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วสันต์ ปานสังข์, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
เขตอำนาจศาล--ไทย
สัญญาทางปกครอง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องเขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและสัญญาทางแพ่งครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิดทฤษฏีและหลักเกณฑ์ของศาลปกครองและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสัญญาทางปกครองและสัญญาทางแพ่งที่เป็นสัญญาของฝ่ายปกครอง (2) ศึกษาวิเคราะห์ถึงความชัดเจนใน ความหมายของสัญญาแต่ละประเภทอื่นจะเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และเพื่อไม่เกิดความสับสนกับประชาชนผู้ที่จะนำข้อพิพาททางสัญญาขึ้นสู่ศาล (3) เสนอแนะแนวทางในการกำหนดเขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและสัญญาทางแพ่งที่เป็นสัญญาของฝ่ายปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำรา คำพิพากษา ข้อหารือ รวมทั้งงานวิจัยต่าง ๆ ทั้งเอกสารของไทยและเอกสารของ ต่างประเทศ ตลอดจนเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่าศาลปกครองและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลมีแนวคำวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองในสัญญาที่มอบให้เอกชนจัดทำบริการสาธารณะแตกต่างไปจากหลักการทำการสัญญาให้จัดทำบริการสาธารณะตามหลักกฎหมายมหาชน ที่ว่าสัญญาทางปกครองที่ฝ่ายปกครองได้มอบให้เอกชนคู่สัญญาจัดทำบริการสาธารณะภายใต้ขอบเขตของกฎหมายมหาชนนั้น ต้องเป็นกรณีที่ให้เอกชนคู่สัญญาผู้รับมอบทำการก่อสร้างหรือจัดทำขึ้นซึ่งบริการสาธารณะภายใต้ขอบเขตของกฎหมายมหาชน และเมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จให้เอกชน คู่สัญญาผู้รับจ้างเข้าบริหารจัดการเพื่อให้บริการแก่ประชาชนต่อไปด้วยสิ่งก่อสร้างนั้นไปจนตลอดอายุสัญญา โดยเอกชนคู่สัญญามีสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือคำบริการจากประชาชนผู้ใข้บริการนั้น ๆ ส่วนกรณีสัญญาที่ฝ่ายปกครองทำสัญญาให้เอกชนคู่สัญญาทำการก่อสร้าง หรือจัดทำขึ้นซึ่งอุปกรณ์ หรือเครื่องมือในการบริการสาธารณะนั้น เมื่อได้จัดทำการก่อสร้างหรือจัดทำจัดหาซึ่งอุปกรณ์หรือเครื่องมือเสร็จแล้วและส่งมอบให้กับคู่สัญญาฝ่ายปกครอง คู่สัญญาฝ่ายเอกชนไม่มีสิทธิ และหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามสัญญาอีก โดยมีเพียงสิทธิเรียกร้องค่าจ้างอันเป็นค่าตอบแทนจากฝ่ายปกครองตามสัญญาเท่านั้น สัญญาดังกล่าวนี้จึงเป็นสัญญาตามกฎหมายเอกชนของฝ่ายปกครอง ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดความสับสนกับประชาชนผู้ที่จะนำข้อพิพาททางสัญญาขึ้นสู่ศาล จึงควรมีการทบทวนแนวทางในการชี้ขาดในเรื่องดังกล่าวโดยคำนึงถึงหลักการจัดทำบริการสาธารณะตามกฎหมายมหาชนด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4267
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons