กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4269
ชื่อเรื่อง: ปัญหากระบวนการดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Disciplinary issues under the organic law on counter corruption : a case study of the Royal Thai Police
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิจิตร ศรีมะเรือง, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ--ตำรวจ--วินัย
ตำรวจ--ไทย--วินัย
การทุจริตและประพฤติมิชอบ--ไทย--การป้องกัน
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ให้ทราบถึงวิวัฒนาการและแนวคิดทฤษฎีของกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (2) ให้ทราบถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการควบคุมการกระทำทางปกครองของฝ่ายปกครองไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ (3) ให้ทราบถึงสภาพปัญหาและศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการ ดำเนินการทางวินัยตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. ตั้งแต่ขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ขั้นตอนการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน โดยศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และขั้นตอนการฟ้องคดีต่อศาลปกครองในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งอาศัยข้อมูลจากเอกสาร ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแล้วนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์ในลักษณะการเขียนเชิงพรรณนาเพื่อหาข้อสรุปและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองให้แก้ไขดุลพินิจวินิจฉัยในการกำหนดฐานความผิดโทษทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นการตีกรอบดุลพินิจวินิจฉัยของผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหา แต่คงอุทธรณ์ได้เพียงดุลพินิจในการตัดสินใจเท่านั้น ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา จึงควรแก้ไข พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 มาตรา 92 โดยกำหนดให้การพิจารณาโทษของผู้บังคับบัญชาต้องถือข้อเท็จจริงที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอีก ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาสามารถอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองให้แก้ไขดุลพินิจวินิจฉัยในการกำหนดฐานความผิดโทษทางวินัยได้ และกำหนดให้ส่วนราชการอื่นที่มีคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเทียบเท่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. สอบสวนทางวินัยได้เอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4269
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons