กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4272
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง กับคุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลกกกุง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between self-sufficient economy living and quality of life of people in Kokkung Sub-District, Mueang Suang District, Roi-Et Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกวรรณ กรรษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
คุณภาพชีวิต--ไทย--ร้อยเอ็ด
เศรษฐกิจพอเพียง
การดำเนินชีวิต--แง่เศรษฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจ พอเพียงของประชาชนดำบลกกกุง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด (2) ระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนตำบลกกกุง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนิน ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลกกกุง อำเภอเมืองสรวง จังหวัด ร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชน 11 หมู่บ้าน ในเขตตำบลกกกุง อำเภอเมืองสรวง จังหวัด ร้อยเอ็ด จำนวน 284 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ เกึบรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใชัในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและการวิเคราะห์การจัดกลุ่มพทุคูณ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (1) มีการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ระดับสูง (ร้อยละ 69.0) ระดับสูงที่สุด (ร้อยละ 24.3) และระดับปานกลาง (ร้อยละ 6.3) ตามลำตับ (2) มีคุณภาพชีวิตระดับสูง (ร้อยละ67.6) ระดับสูงที่สุด (ร้อยละ23.2) และระดับปานกลาง (ร้อยละ 9.2) ตามลำดับ (3) ปัจจัยด้านการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีความรู้และมีคุณธรรม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพ ชีวิตของประชาชนตำบลกกกุง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด และสามารถอธิบายคุณภาพชีวิตได้ ร้อยละ 59 อย่างมีนัยสัาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยด้านคุณธรรมสามารถอธิบายความ แปรปรวนคุณภาพชีวิตได้ดีกว่าปัจจัยด้านมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านมีดวามรู้ด้านความพอประมาณ และด้านความมีเหตุผล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4272
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
105690.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons