กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4283
ชื่อเรื่อง: | บทบาทการบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Roles in aministration of student development activities of small-sized school administators under the Office of Lampang Primary Education Service Area 3 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรรณพ จีนะวัฒน์ วราภรณ์ พานธงรักษ์, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทการบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 และ (2) เปรียบเทียบบทบาทการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ทางการบริหารต่างกันกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพึ้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 จำนวน 63 คน ได้มาโดยการการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ คำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทการบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมี 3 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ บทบาทด้านการสร้างความตระหนัก บทบาทด้านการกำหนดแผน และบทบาทด้านการพัฒนาองค์ความรู้และความสามารถให้กับบุคลากร และ (2) ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีบทบาทในการบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารที่มีประสบการณ์มากกว่า 5 ปี จะมีบทบาทในการบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมากกว่าผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 1-5 ปี |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4283 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_137354.pdf | 13.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License